ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เรื่อง ทรรศนะทางสังคม

ปรีดี พนมยงค์ - วิกิพีเดีย

ประวัติผู้แต่ง

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม 2443 – 2 พฤษภาคม 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษา ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย หลังการปฏิวัติสยามในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาลพระยาพหลพลพยหุเสนาและแปลก พิบูลสงคราม มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี ความเห็นของเขาแตกกับแปลก พิบูลสงคราม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างปี 2484 ถึง 2488 และเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาพยายามบ่อนทำลายความชอบธรรมของประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ถือโทษเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม หลังสงครามยุติพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอื่นทวีความรุนแรงขึ้น หลังกรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เขาถูกใส่ร้ายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้บงการทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองครั้ง ต่อมาเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองนอกประเทศ ปี 2492 เขากับพันธมิตรทางการเมืองพยายามรัฐประหารรัฐบาลในขณะนั้นแต่ล้มเหลว ทำให้เขาและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมืองโดยสิ้นเชิง จากนั้นเขาลี้ภัยการเมืองในประเทศจีนและฝรั่งเศสโดยไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีก เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองในประเทศไทยและโลกอยู่เรื่อย ๆ จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการนำอัฐิเขากลับประเทศในปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานผ้าไตรในพิธีทักษิณานุประทาน อนุสรณ์ของเขาประกอบด้วยวันปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตลอดจนอนุสาวรีย์ และสถานที่และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อเขา เขามีภาพลักษณ์ตั้งแต่เป็นนักประชาธิปไตยไม่นิยมเจ้าไปจนถึงผู้นิยมสาธารณรัฐ การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของเขา และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดีเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านเผด็จการทหาร เสรีนิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ยูเนสโกยกให้เขาเป็นบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นอกจากนี้ยังได้รับเสนอชื่อเป็นชาวเอเชียแห่งศตวรรษด้วย

ย้อนอ่าน 'ความเป็นอนิจจังของสังคม' จาก ปรีดี พนมยงค์ ถึงสังคมไทยในปัจจุบัน

ไฟล์เรื่อง ทรรศนะทางสังคม

บทที่ ๘

ทรรศนะทางสังคม

                ส่วนทรรศนะทางสังคมของมนุษย์ก็เกิดขึ้นจากรากฐานแห่งสภาพความเป็นอยู่ทางชีวปัจจัยนั่นเองคือในระบบปฐมสหการและสังคมกิจ (สังคมนิยม) มนุษย์ก็มีทรรศนะในทางช่วยเหลือร่วมมือกันฉันพี่น้องโดยมิได้มีความคิดกดขี่หรือเบียดเบียนระหว่างกันในระบบทาสระบบศักดินาระบบ ธ นานุภาพซึ่งสมาชิกในสังคมมีฐานะและวิถีคำรงชีพต่างกันโดยสมาชิกในสังคมจำพวกหนึ่งมีอำนาจใช้สมาชิกในสังคมอีกจำพวกหนึ่งให้ทำงานเพื่อตนสมาชิกในสังคมก็มีทรรศนะแตกต่างกันตามจำพวกหรือวรรณะกล่าวคือพวกขี่ครองก็มีทรรศนะที่จะรักษาการที่ครองของจำพวกตนไว้และหาทางที่จะใช้วิธีที่ครองให้ได้ประโยชน์มากที่สุดส่วนวรรณะที่ถูกที่ครองก็มีทรรศนะที่ต้องการให้หลุดพ้นจากการถูกครองซึ่งเป็นไปตามกฎธรรมชาติเช่นสัตว์ที่ถูกกักขังไว้ในกรงก็ต้องหาทางออกจากกรง

                 ส่วนข้อยกเว้นในระหว่างหัวต่อหัวเลี้ยวระหว่างระบบเก๋กับระบบใหม่ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั้นก็เป็นไปได้ในการที่บุคคลในวรรณะเก่าบางคนมีทรรศนะก้าวหน้าและคนในวรรณะใหม่บางคนมีทรรศนะถอยหลัง

                  ทรรศนะทางสังคมจึงมีชนิดที่ใช้เพื่อรักษาจารีตและฟื้นระบบเก่าทั้งระบบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งกันชนิดใหม่ที่ใช้เพื่อพัฒนาระบบใหม่ทรรศนะทั้งสองชนิดนี้ปะทะกันอยู่ในการนำวิถีแห่งความเคลื่อนไหวของสังคมข้าพเจ้าได้ทำความเข้าใจไว้แล้วว่าความเคลื่อนไหวของมนุษยสังคมนั้นดำเนินไปโดยมนุษย์มีจิตสำนึกจึงมีทรรศนะทางสังคมที่เป็นหลักนำในการเคลื่อนไหวส่วนสิ่งตามธรรมชาติอย่างอื่นที่ไม่มีจิตไม่มีจิตใจนั้นดำเนินเคลื่อนไหวไปโดยปราศจากจิตสำนึก

                  พึงต้องทำความเข้าใจไว้ด้วยว่าแม้ทรรศนะทางสังคมเกิดขึ้นจากสภาพความเป็นอยู่ทางชีวปัจจัยซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นก็ตาม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วทรรศนะทางสังคมก็มีผลสะท้อนไปยังสภาพความเป็นอยู่ทางชีวปัจจัยคือเป็นหลักนำที่มีอิทธิพลยิ่งขึ้นในการเคลื่อนไหวของสังคมที่ต้องดำเนินก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามกฎธรรมชาติ

ไฟล์เสียงเรื่อง ทรรศนะทางสังคม

https://drive.google.com/file/d/1b3YZH0HkIKt-vMk_rHIr8hIaSOiyu1gj/view

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น