ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เรื่อง ความเกี่ยวโยงระหว่างเศรษฐกิจการเมือง และ ทรรศนะสังคม

ชีวประวัติย่อของนายปรีดี พนมยงค์ | Lazada.co.th

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม 2443 – 2 พฤษภาคม 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษา ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย หลังการปฏิวัติสยามในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาลพระยาพหลพลพยหุเสนาและแปลก พิบูลสงคราม มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี ความเห็นของเขาแตกกับแปลก พิบูลสงคราม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างปี 2484 ถึง 2488 และเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาพยายามบ่อนทำลายความชอบธรรมของประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ถือโทษเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม หลังสงครามยุติพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอื่นทวีความรุนแรงขึ้น หลังกรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เขาถูกใส่ร้ายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้บงการทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองครั้ง ต่อมาเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองนอกประเทศ ปี 2492 เขากับพันธมิตรทางการเมืองพยายามรัฐประหารรัฐบาลในขณะนั้นแต่ล้มเหลว ทำให้เขาและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมืองโดยสิ้นเชิง จากนั้นเขาลี้ภัยการเมืองในประเทศจีนและฝรั่งเศสโดยไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีก เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองในประเทศไทยและโลกอยู่เรื่อย ๆ จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการนำอัฐิเขากลับประเทศในปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานผ้าไตรในพิธีทักษิณานุประทาน อนุสรณ์ของเขาประกอบด้วยวันปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตลอดจนอนุสาวรีย์ และสถานที่และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อเขา เขามีภาพลักษณ์ตั้งแต่เป็นนักประชาธิปไตยไม่นิยมเจ้าไปจนถึงผู้นิยมสาธารณรัฐ การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของเขา และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดีเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านเผด็จการทหาร เสรีนิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ยูเนสโกยกให้เขาเป็นบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นอกจากนี้ยังได้รับเสนอชื่อเป็นชาวเอเชียแห่งศตวรรษด้วย

ความเป็นอนิจจังของสังคม - ลูกอ๊อดหนังสือเก่า : Inspired by LnwShop.com

เนื้อเรื่อง ความเกี่ยวโยงระหว่างเศรษฐกิจการเมือง และ ทรรศนะสังคม

บทที่ ๙

ความเกี่ยวโยงระหว่างเศรษฐกิจ

การเมือง และ ทรรศนะสังคม

                 ๙.๑ เรารู้แล้วว่าการได้มาซึ่งชีวปัจจัยนั้นจำต้องมี การผลิต

                 การผลิตชีวปัจจัยนั้นจำต้องมีเครื่องมือในการผลิตกับต้องมีบุคคลที่สามารถใช้เครื่องมือการผลิตและสามารถทำเครื่องมือการผลิตนั้นทั้งสองสิ่งนี้ประกอบกันเป็น พลังการผลิตของสังคม (Productives forces)

                 พลังการผลิตของสังคมมิได้นิ่งคงอยู่กับที่ดังนั้นเมื่อพลังการผลิตเปลี่ยนแปลงไปก็ทำให้ความสัมพันธ์การผลิต เปลี่ยนแปลงไป

                 ๙.๒ ในสมัยดึกดำบรรพ์เมื่อครั้งมนุษยชาติยังรู้จัก แต่เพียงเครื่องมือหินนั้นการผลิตชีวปัจจัยก็คือการเก็บผลไม้และการจับสัตว์เล็กสัตว์น้อยมาเป็นอาหารอันมีอยู่ตามธรรมชาติในที่ดินซึ่งไม่มีผู้ใดหวงกันไว้เป็นส่วนของเอกชนโดยเฉพาะความสัมพันธ์ในการผลิตระหว่างมนุษย์จึงเป็นไปตามความเหมาะสมแก่สภาพเช่นนั้นคือการร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันอันเป็นระบบปฐมสหการ

                  แม้ต่อมามนุษย์สามารถเอาโลหะมาทำเป็นเครื่องมือซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่ามนุษย์เข้าสู่ระบบทาสนั้นอันที่จริงยังอยู่ในระหว่างระบบปฐมสหการที่กำลังพัฒนา ซึ่งเราอาจเห็นได้จากรูปธรรมของหลายสังคมในเอเชีย

                 ระบบปฐมสหการเริ่มเสื่อมก็ภายหลังที่มนุษยชาติรู้จักปรับปรุงเครื่องมือโลหะดีขึ้นจึงรู้จักเอาเครื่องมือนั้นมาทำการเพาะปลูกในที่ดินและจับสัตว์มายังคอกเลี้ยงไว้อีกทั้งปลูกที่พักอาศัยในที่ดินเป็นประจำแทนการพเนจรจึงเกิดความจำเป็นที่ต้องหวงกันที่ดินไว้เป็นส่วนของเอกชนกิเลสของเอกชนจึงเกิดขึ้น การสะสมผลิตผลที่ทำได้และการแลกเปลี่ยนผลิตผลระหว่างเอกชนก็เกิดมีขึ้นอันเป็นหัวต่อระหว่างระบบปฐมสหการไปสู่ระบบทาสซึ่งเป็นระบบที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต

                   ๙.๓ การที่ระบบปฐมสหการต้องสลายไปโดยมีระบบทาสขึ้นแทนที่นั้นเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงในเครื่องมือการผลิตอย่างไม่มีข้อสงสัย แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเครื่องมืออะไร?

                   บางท่านอาจเอาเรื่องระบบทาสของโรมันในสมัยหลังที่คนตกเป็นทาสได้เพราะหนี้สินเช่นเดียวกับที่ปรากฏในกฎหมายเก่าของไทยดังนั้นจึงอาจเข้าใจว่าผู้สะสมปัจจัยการผลิตในสังคมเดียวกันเป็นทาสก่อนที่จับเอาคนมาจากสังคมอื่นว่าที่จริงการสะสมปัจจัยการผลิตของเอกชนในสมัยดึกดำบรรพ์นั้นไม่ใหญ่โตมหาศาลถึงกับจะทำให้คนในสังคมส่วนมากต้องอดตายถ้าไม่ยอมเป็นทาสเพื่อแลกกับชีวปัจจัยซึ่งต่างกับการสะสมปัจจัยการผลิตในสมัยต่อ ๆ มาเพราะในสมัยก่อนโน้นผลิตผลตามธรรมชาติในป่ายังมีอยู่สมบูรณ์พอที่จะหาได้

                  ตามรูปธรรมที่ค้นได้จากหลายสังคมในเอเชียนี้ก็คือการเอาคนลงเป็นทาสนั้นเริ่มกระทำกันภายหลังที่มีการรบพุ่งระหว่างสังคมที่เป็นกลุ่มน้อย ๆ ต่าง ๆคือแทนที่สังคมฝ่าย ธ นะจะฆ่าคนของสังคมฝ่ายแพ้ก็เปลี่ยนเป็นจับเอาคนของสังคมฝ่ายแพ้มาใช้งานอย่างจับสัตว์พาหนะมาทำงานทั้งนี้ก็เพราะมนุษยชาติได้พิพัฒนาเครื่องมือเพาะปลูกเช่นไถได้ดีขึ้นและต้องการแรงงานสัตว์พาหนะยิ่งขึ้นการจับเอาคนของสังคมที่แพ้มาทำงานของสังคมที่ชนะจึงเป็นการทำให้พลังการผลิตของสังคมเปลี่ยนไปเป็นระบบทาสเช่นการที่ชาวยุโรปจับเอาชาวนิโกรไปเป็นทาสเพื่อบุกเบิกที่ดินในทวีปอเมริกาและชนบางเผ่าในตอนตะวันออกเฉียงเหนือสุดของอินเดียที่เคยมีการล่ามนุษย์อยู่อีกเมื่อ ๕๐ ปีก่อน

                   เมื่อผู้สะสมปัจจัยการผลิตรวมทั้งสะสมทาสที่ได้จากสังคมอื่นมากแล้วจึงมีอำนาจในสังคมมากขึ้นและรวบปัจจัยของสังคมไว้ได้เป็นส่วนมากอันเป็นเหตุทำให้คนส่วนมากของสังคมตกเป็นคนยากจนซึ่งต้องขายถูกขายเมียและขายตัวเองเพื่อแลกกับชีวปัจจัยมนุษย์ที่ยากจนจึงกลายเป็นสินค้าชนิดหนึ่งซึ่งหมดมนุษยภาพคือต้องตกเป็นทาสการเป็นทางเนื่องจากหนี้สินและการขายลูกเมียและตัวของผู้ขายเองจึงมีขึ้นในภายหลัง

                  ความสัมพันธ์การผลิตจึงเปลี่ยนจากระบบปฐมสหการมาเป็นระบบทาส

                  ๙.๔ในสมัยระบบทาสเครื่องมือการผลิตได้พัฒนายิ่งขึ้นเช่นเครื่องมือการเพาะปลูกก็มีมากมายหลายชนิดอาทิไถที่มีผาลเหล็กก็ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นมีคราดและเครื่องเก็บเกี่ยวที่ดีขึ้นมีเครื่องจับสัตว์บกและสัตว์น้ำดีขึ้นมีเครื่องทอผ้าและเครื่องจักสานและภาชนะดินเผา ฯลฯ การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ตลอดจนการทำสวนก็ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นและขยายมากขึ้นการผลิตชีวปัจจัยจึงต้องการความประณีตจากบุคคลผู้ทำการผลิตยิ่งกว่าทาสในสมัยแรกที่ถูกบังคับให้ทำงานอย่างทารุณเยี่ยงสัตว์พาหนะซึ่งไม่มีกำลังตั้งใจทำงานเพราะทาสเป็นมนุษย์มีจิตสำนึกเจ้าทาสจึงต้องลดความทารุณต่อทาสลงกว่าเดิมและผ่อนผันให้ทาสมีมนุษยภาพยิ่งขึ้นอีกทั้งให้รางวัลหรือส่วนของผลิตผลที่ทำได้บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการล่อใจระบบทาสอย่างทารุณก็เริ่มเสื่อมลงโดยมี ความสัมพันธ์ชนิดใหม่ ซึ่งเป็นปฐมเหตุแห่ง ระบบศักดินา

                  ๙.๕ ระบบศักดินาที่เริ่มเกิดขึ้นตามที่กล่าวในข้อ ๔.๔ นั้นก็ได้ดำเนินคู่กันไปกับระบบทาสปรากฏการณ์เช่นนี้มีอยู่แล้วในสังคมไทยและแม้ในสังคมกรีกทั่วไป (ไม่ใช่เอาสังคมกรีกเล็ก ๆ สังคมหนึ่งขึ้นมาเป็นหลัก) อีกทั้งในสังคมโรมันก็จะพบปรากฏการณ์ทำนองนั้น

                    เครื่องมือการผลิตได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นหลายอย่างยิ่งกว่าในระบบทาสเดิมโรงหัตถกรรมต่าง ๆในการผลิตชีวปัจจัยต่างก็เกิดมีขึ้นที่ดินรกร้างก็ได้ถูกบุกเบิกทำการเพาะปลูกหรือมี“ ที่นา” มากขึ้นทำนองเดียวกันกับที่ชาวอเมริกันล่าคนนี้โกรไปเป็นทาสเพื่อบังคับให้ทำการบุกเบิกที่ดินในสหรัฐอเมริกาเจ้าของทาสก็ได้เป็นเจ้าของที่นาซึ่งทาสได้ทำการบุกเบิกไว้ด้วย

                    โดยเฉพาะการหักร้างถางพงและบุกเบิกให้เป็นที่นาซึ่งขยายออกไปมากยิ่งขึ้นนั้นทำให้เจ้าทาสผู้เป็นเจ้าของนาไม่สามารถควบคุมการทำงานของทาสในที่นาซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปจากบ้านเจ้าทาสยิ่งขึ้นนั้นได้อย่างใกล้ชิดแม้ว่าทาสจะได้รับสิ่งล่อใจบ้างเป็นการตอบแทนตามที่กล่าวมาแล้วข้างบนนั้นก็ตาม แต่การทำงานของทาสที่ห่างไกลจากเจ้าทาสก็ยิ่งทำให้เจ้าทาสไม่ได้ผลอย่างที่ตนควบคุมได้อย่างใกล้ชิดดังนั้นเจ้าทาสจึงเปลี่ยนวิธีใช้แรงงานใหม่คือให้ทาสบางคนได้รับอิสระไม่ต้องรับใช้อยู่ประจำกับเจ้าทาส แต่ให้ไปอยู่ประจำอยู่ในที่นาโดยต้องทำการเพาะปลูกและเก็บผลที่ได้ส่งมอบให้แก่เจ้าของนาหรือที่เรียกกันว่า“ ส่งส่วย”

                   ความสัมพันธ์การผลิตชีวปัจจัยระหว่างเจ้าทาสกับทาสจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านากับข้าที่ดินหรือ“ ลูกนา” คือระบบศักดินา

                   ๙.๖ ภายหลังที่ยุคใหม่ของยุโรปได้เริ่มขึ้นในราวกลางคริสตศตวรรษที่ ๑๕ แล้วการศึกษาวิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอันทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือการผลิตสมัยใหม่ขึ้นหลายอย่างหลายประการความรู้ในการเดินเรือรอบโลกได้ทำให้ชาวยุโรปหลายจำพวกยึดครองดินแดนในทวีปต่าง ๆเป็นอาณานิคมครั้นแล้วก็ได้มีผู้คิดเครื่องจักรกลที่ใช้กำลังไอน้ำได้ในปลายคริสตศตวรรษที ๑๘ โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรกลใหม่ดังกล่าวแล้วก็ได้เกิดขึ้นมาแทนที่โรงงานหัตถกรรมของระบบศักดินาซึ่งเสื่อมสลายไปเพราะไม่อาจทนต่อสู้กับโรงงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่า

                   เครื่องมือการผลิตชนิดใหม่ดังกล่าวแล้วจำต้องใช้คนงานที่มีความรู้ความสามารถยิ่งกว่าบ้าที่ดินหรือลูกนาเพราะคนงานจะต้องเข้าใจในเครื่องจักรกลสมัยใหม่และสามารถใช้เครื่องจักรกลนั้นได้ดังนั้นเจ้าปัจจัยการผลิตสมัยใหม่หรือนัยหนึ่งเจ้าสมบัตินั้นก็จำเป็นต้องใช้คนงานที่มีความเป็นอิสระยิ่งกว่าข้าที่ดินหรือลูกนาซึ่งประจำทำงานในที่ดินโดยส่งส่วยแก่เจ้าที่ดินหรือเจ้านาในการนี้จึงจำต้องเปลี่ยนความสัมพันธ์ชนิดศักดินาเดิมมาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างคือความสัมพันธ์แห่งระบบทุนหรือระบบ ธ นานุภาพซึ่งบางสังคมก็มีพลังมหาศาลเป็นบรม ธ นานุภาพทำการยึดครองดินแดนมากหลายในทวีปต่าง ๆ เป็นอาณานิคมรวมทั้งบังคับสังคมไทยให้จำต้องยอมรับวิธีสัมพันธ์ชนิดใหม่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วด้วย

                    ๙.๗ ภายหลังที่ได้มีเครื่องจักรกลที่ใช้กำลังไอน้ำแล้วเครื่องมือการผลิตสมัยใหม่ก็ได้พัฒนายิ่งขึ้นอีกมากมายเครื่องยนต์กลไกเครื่องไฟฟ้านานาชนิดที่มนุษย์สมัยใหม่ได้คิดขึ้นและปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งจนกระทั่งปัจจุบันนี้สามารถใช้พลังปรมาณูมาเป็นเครื่องมือการผลิตการพัฒนาในเครื่องมือต่าง ๆนี้ได้ทำให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมที่ใหญ่โตมหาศาลมากมายในการผลิตชีวปัจจัยและในการขนส่งกับแลกเปลี่ยนชีวปัจจัยเจ้าสมบัติหรือนายทุนสมัยใหม่ก็รวบรวมปัจจัยการผลิตไว้ในมือของตนมากยิ่งขึ้นส่วนสมาชิกส่วนมากของสังคมที่ไร้ปัจจัยการผลิตหรือไร้สมบัติก็ต้องตกเป็นลูกจ้างของเจ้าสมบัติเพื่อทำงานแลกกับชีวปัจจัยการขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือระหว่างเจ้าสมบัติกับผู้ไร้สมบัติก็เกิดขึ้นตามกฎธรรมดา

                   ในสังคมใดที่มีการประนีประนอมโดยฝ่ายเจ้าสมบัติกับผู้ไร้สมบัติยอมให้ผู้ไร้สมบัติได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมบ้างและยอมกระทำการอันเป็นสวัสดิการของผู้ไร้สมบัติระบบ ธ นานุภาพของสังคมนั้นก็ยังประทั่งอยู่ต่อไปได้ แต่ในสังคมใดที่ข้อขัดแย้งทวีความรุนแรงถึงขีดที่ไม่อาจประนีประนอมกันได้ระบบ ธ นานุภาพของสังคมนั้นก็ดำเนินไปสู่ความเป็นอนิจจังเร็วขึ้นซึ่งผู้อ่านก็คงรู้อยู่แล้วว่าแม้สังคมที่เป็นสมาชิกแห่งสหประชาชาติหลายสังคมก็ต้องประสบเหตุการณ์เช่นนั้นโดยเปลี่ยนจากระบบ ธ นานุภาพเข้าสู่ระบบสังคมกิจ (สังคมนิยม)

ไฟล์เสียงเรื่อง ความเกี่ยวโยงระหว่างเศรษฐกิจการเมือง และ ทรรศนะสังคม

https://drive.google.com/file/d/1b6YDlAyobBghzBcqN9fBm_q_m7v0xrIa/view?fbclid=IwAR2_deQDppQKgYwk8YR8Yj-DzSkc1WVoG92UoJ0KRAsajpFqbzRxlzgyXuI

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น