ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เรื่อง ที่มาของมนุษยชาติกับมนุษยสังคม

ปรีดี พนมยงค์ : ผู้อภิวัฒน์  รัฐบุรุษซึ่งถูกป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่งในฉากการเมืองไทย - SARAKADEE LITE

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม 2443 – 2 พฤษภาคม 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษา ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย หลังการปฏิวัติสยามในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาลพระยาพหลพลพยหุเสนาและแปลก พิบูลสงคราม มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี ความเห็นของเขาแตกกับแปลก พิบูลสงคราม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างปี 2484 ถึง 2488 และเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาพยายามบ่อนทำลายความชอบธรรมของประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ถือโทษเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม หลังสงครามยุติพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอื่นทวีความรุนแรงขึ้น หลังกรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เขาถูกใส่ร้ายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้บงการทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองครั้ง ต่อมาเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองนอกประเทศ ปี 2492 เขากับพันธมิตรทางการเมืองพยายามรัฐประหารรัฐบาลในขณะนั้นแต่ล้มเหลว ทำให้เขาและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมืองโดยสิ้นเชิง จากนั้นเขาลี้ภัยการเมืองในประเทศจีนและฝรั่งเศสโดยไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีก เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองในประเทศไทยและโลกอยู่เรื่อย ๆ จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการนำอัฐิเขากลับประเทศในปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานผ้าไตรในพิธีทักษิณานุประทาน อนุสรณ์ของเขาประกอบด้วยวันปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตลอดจนอนุสาวรีย์ และสถานที่และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อเขา เขามีภาพลักษณ์ตั้งแต่เป็นนักประชาธิปไตยไม่นิยมเจ้าไปจนถึงผู้นิยมสาธารณรัฐ การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของเขา และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดีเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านเผด็จการทหาร เสรีนิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ยูเนสโกยกให้เขาเป็นบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นอกจากนี้ยังได้รับเสนอชื่อเป็นชาวเอเชียแห่งศตวรรษด้วย

ความเป็นอนิจจังของสังคม ปรีดี พนมยงค์

เนื้อเรื่อง ที่มาของมนุษยชาติกับมนุษยสังคม

บทที่ ๓

ที่มาของมนุษยชาติกับมนุษยสังคม

                      ๓.๑ ในส่วนที่เกี่ยวแก่มนุษยสังคมทั้งหลายในสกลโลกนี้ตารามนุษยชาติวิทยาก็ดีประวัติศาสตร์ของโลกก็ดี   วิทยาศาสตร์ทางสังคมซึ่งอาศัยข้อเท็จจริงที่ตำราเหล่านั้นได้ค้นคว้าไว้ประกอบด้วยปรากฏการณ์ที่ประจักษ์ก็ดีย่อมรับกันว่ามนุษยชาติในสมัยดึกดำบรรพ์ได้อยู่ในระบบสังคมประเภทเดียวกันคือระบบปฐมสหการทำนองเดียวกับที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วสำหรับสังคมไทย

                      ถ้าจะศึกษาค้นคว้าถึงที่มาแห่งระบบปฐมสหการแล้วก็จำต้องกล่าวถึงที่มาของมนุษยชาติทั้งปวง

                      นักศึกษาสมัยใหม่แทบทุกคนย่อมรู้อยู่แล้วว่ามนุษยชาติได้พัฒนามาจากกปี (Anthropoid Ape) เป็นเวลาหลายล้านปีมาแล้วแม้นักศึกษารุ่นข้าพเจ้าก็เคยได้ยินครูสอนไว้เมื่อ ๕๐ ปีก่อนโน้นถึงที่มาของมนุษยชาติดังกล่าวนั้น

                      ถิ่นอันเป็นที่มาของมนุษยชาตินั้นนักวิทยาศาสตร์ทางสังคมผู้หนึ่งชื่อ เองเกลส์   ได้มีความเห็นเช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติเมื่อปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ว่าในยุคที่ ๓ ของโลกคือเมื่อหลายล้านปีมาแล้วได้มี      กบี่จำพวกหนึ่งที่ได้พัฒนาสูงกว่าวานรทั้งปวงซึ่งมีสังขารเกือบครบถ้วนเป็นมนุษยชาติกปีจำพวกนี้อาศัยอยู่ในที่ใดที่หนึ่งแห่งอาณาบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นซึ่งนักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นท้องที่ในทวีปใหญ่ซึ่งบัดนี้จมไปอยู่ก้นมหาสมุทรอินเดีย

                      สังคมไทยในยุคปัจจุบันตั้งอยู่ในอาณาบริเวณที่มีดินแดนส่วนหนึ่งติดกับมหาสมุทรอินเดีย  ซึ่งอาจเป็นดินแดนที่เหลืออยู่ของทวีปที่จมไปอยู่กันมหาสมุทรอินเดียก็ได้ถ้าหากนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เห็นพ้องต้องกันกับนักวิทยาศาสตร์ทางสังคมดังกล่าวแล้วในหลักการแม้การคำนวณเวลาของยุคจะผิดเพี้ยนกันไปบ้างเช่นในปัจจุบันคำนวณกันว่าเป็นเวลาหลายล้านปีแทนหลายแสนปีก็ตามข้าพเจ้าก็เห็นว่าดินแดนส่วนหนึ่งแห่งสังคมไทยนี้เองเป็นถิ่นของกปีที่พัฒนามาเป็นมนุษยชาติอันที่จริงเราได้ยินพูดกันถึงคนป่าที่ภาษามลายูเรียกว่า“ อูรังอุทั้ง” ซึ่งเคยมีอยู่ในป่าภาคใต้ของสังคมไทยเหมือนกันแม้ในภาคเหนือเราก็เคยมีกจำพวกนี้ซึ่งบางที่มีผู้จับมาแสดงให้ดูในงานวัดเมื่อหลายสิบปีมาแล้วนอกจากนี้จากนี้ก็ยังมีมนุษย์ดั้งเดิมเผ่าต่าง ๆตามที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วในข้อก่อน

                     นักปราชญ์ผู้นั้นได้กล่าวถึงมนุษย์เผ่าต่าง ๆที่กระจายไปอยู่ทั่วโลกนั้นว่าไปจากแหล่งเดิมนี้เองคือท่านให้ความเห็นว่าเมื่อมนุษย์ได้รู้จักบริโภคสิ่งที่สามารถกินเป็นอาหารได้แล้วก็รู้จักอาศัยอยู่ในท้องที่ซึ่งมีดินฟ้าอากาศต่าง ๆแล้วมนุษย์บางจำพวกจึงได้เคลื่อนจากถิ่นเดิมซึ่งมีอากาศอบอุ่นไปอยู่ในอาณาบริเวณที่มีอากาศเย็นกว่าและหนาวกว่าฤดูกาลในอาณาบริเวณใหม่ซึ่งมีทั้งฤดูร้อนฤดูหนาวทำให้มนุษย์มีความต้องการเกิดขึ้นใหม่คือที่พักอาศัยและเครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความหนาวและความแฉะขึ้นแรงงานประเภทใหม่และกิจกรรมใหม่ก็เกิดขึ้นตามความต้องการใหม่ในเรื่องชีวปัจจัย

                    ดังนั้นมนุษยชาติทั้งปวงที่ถือกำเนิดมาจากแหล่งเติมด้วยกันจึงมีระบบสังคมดั้งเดิมอย่างเดียวกันซึ่งเป็นสมัยต้นแห่งระบบปฐมสหการระบบนี้ได้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงภายในระบบนั้นอย่างไม่หยุดยั้ง แต่มนุษย์ที่แยกย้ายกระจัดกระจายจากถิ่นเดิมไปอยู่ทั่วโลกนั้นก็ย่อมมีสัญลักษณ์พิเศษผิดเพี้ยนกันตามสภาพและภูมิประเทศ ส่วนลักษณะทั่วไปของระบบปฐมสหการนั้นย่อมเหมือนกันในสาระสำคัญดั่งที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในเรื่องระบบปฐมสหการของสังคมไทย

                     ๓.๒ เนื่องจากสัญลักษณ์พิเศษของแต่ละสังคมสังคมต่าง ๆจึงพัฒนาเข้าสู่ระบบสังคมประเภทอื่น ๆ ช้าเร็วต่าง ๆ กัน

                     ตามปกติของสังคมส่วนมากนั้นต่อจากระบบปฐมสหการแล้วมนุษยสังคมก็เข้าสู่ระบบทาส (SLAVE SYSTEM) ต่อจากระบบทาสก็เข้าสู่ระบบศักดินา (FEUDAL SYSTEM) ต่อจากระบบศักดินาก็เข้าสู่ระบบ ธ นานุภาพหรือระบบทุน (CAPITALIST SYSTEM) และต่อจากระบบ ธ นานุภาพก็มีหลายสังคมที่ได้เข้าสู่ระบบสังคมกิจหรือที่บางท่านเรียกว่าระบบสังคมนิยม (SOCIALIST SYSTEM)

                     ๓.๓ ระบบสังคมโดไม่อาจที่จะคงอยู่กับที่แม้ว่าจะเหนี่ยวรั้งไว้ได้หนักแน่นเพียงใดก็ตามหรือยอมให้ระบบอื่น ๆ ผ่านไปก่อนหลายระบบก็ตาม แต่ในที่สุดก็ต้องถึงจุดใดจุดหนึ่งที่ต้องประสบกับส่วนมากของสังคมที่ก้าวหน้าไปเช่นระบบปฐมสหการของชนบทระหว่างจังหวัดขอนแก่นกับจังหวัดเลยซึ่งในที่สุดก็ต้องเข้ามาร่วมจุดเดียวกันกับระบบของคนส่วนมากในสังคมไทย

                     ระบบปฐมสหการของมนุษย์มากหลายในอาฟริกาและในอเมริกาที่คงค้างอยู่จนกระทั่งถึงชาวยุโรปได้พัฒนาเข้าสู่ระบบ ธ นานุภาพแล้วนั้นก็จำต้องเคลื่อนไหวหรือถูกสังคมเจ้าอาณานิคมบังคับให้เคลื่อนไหวเร็วขึ้นในการเข้าสู่ระบบทาสหรือบางสังคมก็กระโดดข้ามจากระบบทาสไปเข้าแถวของระดับ

ศักดินา หรือเข้าแถวในระดับใดระดับหนึ่งของระบบ ธ นานุภาพชนเผ่าที่อยู่แถบขั้วโลกเหนือซึ่งยังคงมีระบบปฐมสหการอยู่จนกระทั่งสถาปนาสหภาพโซเวียตนั้นก็ได้กระโดดข้ามระบบทาสระบบศักดินาระบบ ธ นานุภาพเข้าสู่ระบบสังคมกิจของสหภาพโซเวียตทีเดียว

                  ระบบสังคมต่าง ๆจึงไม่อาจนิ่งคงอยู่กับที่ได้ชั่วกัลปาวสาน

ไฟล์เสียงเรื่อง ที่มาของมนุษยชาติกับมนุษยสังคม

https://drive.google.com/file/d/1ah75eVlc6TMb6ufkJNPE4UlkAH05jE8D/view

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น