คำสิงห์ ศรีนอก

คำสิงห์ ศรีนอก (25 ธันวาคม 2473 – ) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ในปี พ.ศ. 2535 มีนามปากกาว่า ลาว คำหอม เกิดที่บ้านหนองบัวสะอาด ตำบลหนองบัวสะอาด 

อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวชาวนา ต่อมาสำเร็จการศึกษาที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้รับรางวัลนักเขียนเรื่องสั้นดีเด่น วาระครอบ 100 ปี เรื่องสั้นไทย

            งานของลาว คำหอม นอกจากจะเป็นที่ยอมรับและนิยมยกย่องในวงวรรณกรรมไทยแล้ว ยังได้รับความสนใจจากวงวรรณกรรมต่างประเทศ โดยมีการแปลงานของเขาเป็นภาษาอังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ก ดัตช์ ญี่ปุ่น สิงหล มลายู เยอรมัน (จัดพิมพ์ 6 เรื่อง) และภาษาฝรั่งเศส (จัดพิมพ์ 4 เรื่อง)

            นายคำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม) เป็นนักเขียนเชิงวิจารณ์สังคมที่มีผลงานต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการวรรณศิลป์มากกว่า ๓ ทศวรรษ ผลงานมีทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย บทความ และสารคดี งานเขียนของ คำสิงห์ ศรีนอก โดยเฉพาะรวมเรื่องสั้นชุด ฟ้าบ่กั้น แสดงถึงชั้นเชิงและความสามารถทางวรรณศิลป์ในการถ่ายทอด ความสำนึกและความรับผิดชอบที่เขามีต่อสังคม คำสิงห์ ศรีนอก สามารถเสนอภาพชีวิตชนบท ด้วยกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่งดงาม เฉียบคมและแยบคาย แฝงไว้ด้วยอารมณ์ขัน มีวิธีล้อเลียนชีวิตอย่างมีชั้นเชิง ให้แง่คิดที่เสียดแทงใจ ผลงานของเขาจึงเป็นเสมือน “ คำร้องทุกข์ ” หรือ “ คำอุทธรณ์ ” ต่อมโนธรรม และจิตสำนึกของคนในสังคม ทำให้ต้องหยุดคิดและตระหนักว่าชีวิตของคนชนบทซึ่งต้องต่อสู้กับภัยรอบด้าน ทั้งที่เป็นภัยธรรมชาติและภัยจากสังคมเมืองนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นชะตากรรมที่ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน งานวรรณกรรมของ คำสิงห์ ศรีนอก นอกจากจะมีอิทธิพลต่อนักเขียนร่วมสมัยของเขาและนักเขียนรุ่นหลัง ทั้งในด้านความคิด และกลวิธีการประพันธ์แล้ว ยังได้รับความสนใจจากวงการวิชาการทางวรรณกรรมและทางสังคมศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ เขาเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์งานเพื่อให้ผู้อ่านตรวจสอบตัวเองและสังคมมากกว่ามุ่งเน้นในแง่บันเทิงศิลป์เพียงอย่างเดียว

นายคำสิงห์ ศรีนอก หรือ ลาว คำหอม จึงได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๕

            ฟ้าบ่กั้น เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น สะท้อนภาพชีวิตชนบทของไทยที่ไดัรับการยกย่องมากอีกเล่มหนึ่งของไทย มีลักษณะการเขียนเป็นการเย้ยหยันธรรมชาติ เย้ยหยันวัฒนธรรมที่ล้าหลัง และเย้ยหยันชนชั้นปกครอง

ตัวอย่างเรื่องสั้นของ “ลาว คำหอม”

            เรื่อง ฟ้าโปรด (๒๕๐๓)

                        ฟ้าโปรด เป็นเรื่องของเด็ก ๒ คน และคนแก่แย่งขี้ควายกัน เพื่อหาตัวแมงกุดจี่ไปเป็นอาหารในหน้าแล้งที่หาอาหารได้ยาก ถ้าผู้อ่านไม่ได้เกิดในชนบทอีสาน ไม่เคยเห็นหรือไม่รู้ว่าคนในชนบทอีสานบางแห่ง ยากจนถึงขนาดกินแมงกุดจี่ ซึ่งเพาะพันธุ์มาจากกองขี้ควายแล้ว ก็คงงง เมื่ออ่านตอนแรกๆ และแม้จะทราบความหมายเมื่อตอนจบ แต่ก็อาจจะไม่ชื่นชม ไม่รู้สึกสะเทือนใจมากเท่ากับคนที่มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอยู่บ้าง

            เรื่อง กระดานไฟ (๒๕๐๑)

                        กระดานไฟ เป็นเรื่องเย้ยหยันความเชื่อในเรื่อง กระดานไฟที่ทำจากไม้ตะเคียนทอง ว่าจะทำให้คลอดลูกได้ปลอดภัย  ผู้อ่านที่ไม่เคยเห็นหรือไม่เคยรู้เรื่องของคนที่มีความเชื่อแบบศรัทธา อาจจะรับรู้ความรู้สึกร่วมได้ยาก

            เรื่อง เขียดขาคำ

                        เป็นเรื่องสั้นที่ดีมากอีกเรื่องหนึ่งของผู้เขียน คือ ดีทั้งโครงเรื่อง, สำนวน, เนื้อหา  ถึงแม้จะเป็นการเย้ยหยันธรรมชาติ เย้ยหยันรัฐบาลอย่างขมขื่น โดยไม่ได้เสนอทางออกหรือความหวังอะไร แต่ก็ได้ให้ภาพพจน์ที่สะเทือนใจ

เรื่อง คนพันธุ์

                        เป็นเรื่องการเย้ยหยันการเห่อฝรั่ง

            เรื่อง คนหมู

                        เป็นเรื่องการเย้ยหยันนักพัฒนาจากเมือง

            เรื่อง นักกานเมือง

                        เป็นเรื่องการเย้ยหยันผู้แทน

            เรื่อง สวรรยา

                        ที่เป็นเรื่องสัญลักษณ์ พูดถึงความเสมอภาคในหมู่หนอนได้อย่างมีแง่มุม เรื่องนี้คงต้องเป็นคนที่รู้จักส้วมหลุมในชนบท หรือใช้จินตนาการมากหน่อย จึงจะรู้ได้ว่าผู้เขียนเขียนถึงอะไร 

            เรื่อง ชาวนาและนายห้าง

                        เป็นเรื่องของการประชดนักการเมืองผู้หนึ่ง ซึ่งฝรั่งเอาไปรักษาพยาบาล ขุนเลี้ยงอย่างดีแล้วส่งมาปกครองคนไทย  ถ้าผู้อ่านไม่ทราบเบื้องหลังการเมืองไทยยุคจอมพลสฤษดิ์ ที่สหรัฐเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญ อาจจะไม่เข้าใจว่าต้องการเย้ยหยันใคร

ผลงานนักเขียน

ฟ้าบ่กั้น

แมว

ฟ้าไร้แดน

กระเตงลูกเลียบขั้วโลก

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C_%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81

http://art2.culture.go.th/index.php?case=artistDetail&art_id=46&page=&side=book&detail=eduhttps://www.oocities.org/thaibooks_100/51.htm

https://www.google.com/url?sa=i&url=http%3A%2F%2Fwww.bookeden.QjhxqFwoTCKCvzKPat-

https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.welovebook.com

https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.lungthong.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น