พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี)

พระเมธีวชิโรดม หรือชื่อเมื่อแรกเกิดว่า วุฒิชัย บุญถึง หรือรู้จักกันดีในนามปากกา ว.วชิรเมธี (29 มกราคมพ.ศ. 2516 —) เป็นภิกษุชาวไทย มีชื่อเสียงว่าเป็นพระนักวิชาการ นักคิด นักเขียน และนักบรรยายธรรม และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล ผู้อุปถัมภ์ UNHCR ด้านสันติภาพ และเมตตาธรรม โดยผู้มอบรางวัลได้แก่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

ประวัติ

ว. วชิรเมธี เป็นนามปากกาของ พระเมธีวชิโรดม ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่บ้านครึ่งใต้ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ท่านเป็นคนที่รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า จึงทำให้ท่านซึมซับความรู้ ทุกรูปแบบ เมื่อยังเด็ก มารดาได้พาท่านไปทำบุญที่วัดบ่อยๆ ทุกวันพระ ซึ่งผลจากการติดตามมารดาไปทำบุญบ่อยๆ นี้เอง ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านสนใจหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา และทำให้หนังสือที่ท่านอ่านไม่ได้ ถูกจำกัดอยู่เพียงหนังสือความรู้หรือหนังสือบันเทิงทั่วไปเท่านั้น แต่หนังสือธรรมะก็เป็นหนังสือที่ท่านสนใจด้วยเช่นกัน หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ท่านก็ได้ขอ อนุญาตมารดาบวชเป็นสามเณรที่วัดครึ่งใต้ แตกต่างจากเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันที่มุ่งเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษา เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม จนจบนักธรรมชั้นเอก แล้วย้าย มาพำนักอยู่ ที่วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จนสำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๖ ประโยค ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเกิด และย้ายมาพำนักที่วัดเบญจมบพิตร ในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีต่อจนสำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ซึ่งถือเป็นการศึกษาขั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย ด้านการศึกษาทางโลกนั้น ท่านสำเร็จการศึกษาเป็น “ศึกษาศาสตรบัณฑิต” (สังคม-มัธยมศึกษา) จากมหา วิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ “พุทธศาสตร มหาบัณฑิต” จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปัจจุบันท่านได้ รับเชิญให้เป็น อาจารย์ สอนนักศึกษาระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ นอกจากนั้นก็ยังรับเชิญเป็นวิทยากร บรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้กับหน่วยงานต่างๆ อีกมากมายในแง่จริยวัตรส่วนตัวนั้นนอกจากท่านจะเป็นพระ นักวิชาการ พระนักคิด นักเขียน แล้วท่านก็ยังสนใจฝึกสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปีผลงานหนังสือของท่านมีเกือบ 20 เล่ม ผลงานซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ธรรมะติดปีก, ธรรมะหลับสบาย, ธรรมะดับร้อน, ธรรมะบันดาล, ธรรมะรับอรุณ ,ธรรมะราตรี, ปรัชญาหน้ากุฏิ, ปรัชญาหน้าบ้าน, DNA ทางวิญญาณ, ตายแล้ว เกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา และท่านยังได้เขียนบทความลงในนิตยสารหลายฉบับ เช่น เนชั่นสุดสัปดาห์, ชีวจิต, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจต่อไป

ชีวิตสมณเพศ

พระมหาวุฒิชัยบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2530 ณ วัดครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูโสภณจริยกิจ เจ้าคณะอำเภอเชียงของ วัดศรีดอนไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมา ได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ณ วัดครึ่งใต้ โดยมี พระสุนทรปริยัติวิธาน ปัจจุบันคือ พระเทพสิทธินายก (ชื่น ปญฺญาธโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) เป็นพระอุปัชฌาย์ มี พระครูสมุห์บุญช่วย ฉายา ธมฺมสโร วัดสบสม เป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระครูภัทรวรคุณ วัดสถาน เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ปัจจุบันพระมหาวุฒิชัยสังกัดวัดพระสิงห์ เชียงราย และจำพรรษาอยู่ที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน เชียงราย

การศึกษา

  • พ.ศ. 2533 น.ธ.เอก สำนักเรียน วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
  • พ.ศ. 2543 สอบไล่ได้ เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2543 ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พ.ศ. 2546 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สมณศักดิ์

  • 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระเมธีวชิโรดม

ตำแหน่งปัจจุบัน

  • ประธานมูลนิธิวิมุตตยาลัย
  • ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย
  • ผู้ก่อตั้งและอธิการบดีมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์

(สถาบันการศึกษาทางเลือกเพื่อการพัฒนาตามปรัชญาพุทธเศรษฐศาสตร์)

  • ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระสิงห์ พระอารามหลวง จังหวัดเชียงราย

ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ในอดีต

  • เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย
  • เลขานุการสหธรรมิกเชียงรายในกรุงเทพมหานคร
  • กรรมการตรวจนักธรรมสนามหลวง
  • กรรมการตรวจบาลีสนามหลวง
  • พระอนุจรผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบของ แม่กองบาลีสนามห

ผลงานนักเขียน

เข็นธรรมมะขึ้นภูเขา

อ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki

https://www.google.com

https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.se-ed.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น