ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เรื่อง บทสุดท้าย

ประวัติผู้แต่ง

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม 2443 – 2 พฤษภาคม 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษา ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย หลังการปฏิวัติสยามในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาลพระยาพหลพลพยหุเสนาและแปลก พิบูลสงคราม มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี ความเห็นของเขาแตกกับแปลก พิบูลสงคราม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างปี 2484 ถึง 2488 และเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาพยายามบ่อนทำลายความชอบธรรมของประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ถือโทษเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม หลังสงครามยุติพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอื่นทวีความรุนแรงขึ้น หลังกรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เขาถูกใส่ร้ายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้บงการทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองครั้ง ต่อมาเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองนอกประเทศ ปี 2492 เขากับพันธมิตรทางการเมืองพยายามรัฐประหารรัฐบาลในขณะนั้นแต่ล้มเหลว ทำให้เขาและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมืองโดยสิ้นเชิง จากนั้นเขาลี้ภัยการเมืองในประเทศจีนและฝรั่งเศสโดยไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีก เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองในประเทศไทยและโลกอยู่เรื่อย ๆ จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการนำอัฐิเขากลับประเทศในปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานผ้าไตรในพิธีทักษิณานุประทาน อนุสรณ์ของเขาประกอบด้วยวันปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตลอดจนอนุสาวรีย์ และสถานที่และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อเขา เขามีภาพลักษณ์ตั้งแต่เป็นนักประชาธิปไตยไม่นิยมเจ้าไปจนถึงผู้นิยมสาธารณรัฐ การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของเขา และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดีเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านเผด็จการทหาร เสรีนิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ยูเนสโกยกให้เขาเป็นบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นอกจากนี้ยังได้รับเสนอชื่อเป็นชาวเอเชียแห่งศตวรรษด้วย

ความเป็นอนิจจังของสังคม | สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE :  Pridi.or.th

ไฟล์เรื่อง บทสุดท้าย

https://drive.google.com/file/d/1X8xUw1BhIeJsZD_J4aV9QHh-adA-fZSF/view?usp=sharing

เนื้อเรื่อง บทสุดท้าย

บทสุดท้าย

                    ก่อนจบบทความเรื่องความเป็นอนิจจังของสังคมข้าพเจ้าขอเชิญชวนท่านอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายที่ยังไม่อาจตัดทางโลกแห่งมนุษยสังคมได้อย่างเด็ดขาดตามที่ได้พรรณนามาแล้วโปรดใช้ทฤษฎีผัสสะแห่งพระพุทธศาสนาสมานกับกิจกรรมของมนุษยชาติที่สัมผัสท่านอยู่ในปัจจุบันและเคยสัมผัสมาแล้วในอดีตท่านก็อาจใช้วิจารณญาณมองเห็นกฎแห่งอนิจจังว่าเป็นสัจจะสำหรับโลกและสิ่งทั้งหลายรวมทั้งมนุษยสังคมท่านคงเห็นได้ด้วยตนเองว่าคำสั่งสอนของพระอรรถกถาจารย์เรื่องการวิวรรตของมนุษยสังคมที่จะต้องเข้าสู่ยุคมิคสัญญีและยุคศรีอารยเมตไตรยนั้นได้ประจักษ์ขึ้นบ้างแล้วในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหาไม่ 

                    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาต่อพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวงในการที่ท่านได้ใช้ความอุตสาหะวิริยะพยายามที่จะให้มนุษย์มีศีลธรรมอันดี แต่ปุถุชนผู้เบียดเบียนและข่มเหงผู้อื่นได้ฟังพระธรรมเทศนาเพียงเป็นพิธีโดยมิได้ปฏิบัติตามบางคนกราบไหว้พระพุทธรูปวันละหลาย ๆ ครั้งเพื่อแสดงเปลือกนอกว่านับถือพุทธศาสนาเคร่งครัด แต่ภายในจิตก็ดีการกระท่าที่ประจักษ์ก็ดีเป็นการทำลายล้างศีลธรรมคือเอาศีลเอาสัตย์ไปแลกกับวัตถุคือลาภยศโดยไม่เกรงต่อบาปกรรมว่าที่แท้แล้วเขาเหล่านั้นมิได้ถือเอาจิตเป็นรากฐานในการตัดกิเลสและตัณหาให้น้อยลง แต่เขาถือเอาวัตถุสิ่งของเป็นสรณะจึงมิใช่จิตธรรมิกหรือสสารธรรมิกทางวิทยาศาสตร์ แต่อย่างใด

                     ปุถุชนแห่งวรรณะเบียดเบียนได้ทำให้ศีลธรรมของสังคมเสื่อมโทรมอันเป็นการก่อเงื่อนไขให้เกิดขึ้นในการนำมนุษยสังคมเข้าสู่ยุคมิคสัญญี่การเบียดเบียนกันและข่มเหงกันย่อมไม่คงอยู่กับที่คือจะต้องเสื่อมสลายไปในที่สุดโดยการต่อสู้ของ สมาชิกส่วนมากแห่งสังคมซึ่งอาจเป็นวิธีสั่นติเช่นในปัจจุบันคือวิธีรัฐสภาชนิดประชาธิปไตยสมบูรณ์สังคมก็จะได้กำจัดการเบียดเบียนให้หมดไปทางปริมาณทีละน้อย ๆ ถ้าสมาชิกในสังคมมีทางประนี้ประนอมกันได้ในที่สุดสมาชิก ส่วนมากของสังคมก็จะต้องได้ชัยชนะเพราะประชาธิปไตยย่อมถือเอาเสียงข้างมากถ้าหากผู้เบียดเบียนกับผู้ถูกเบียดเบียนไม่มีทางประนีประนอมกันและจะต้องมีการรบราฆ่าฟันกันแล้วสมาชิกส่วนมากของสังคมที่มีพลัง มากกว่าส่วนน้อยก็ต้องได้ชัยชนะอย่างไม่เป็นปัญหาเช่นเดียวกันเมื่อการเบียดเบียนหมดไปยุคมิคสัญญี่ก็ย่อมสิ้นสุดลงและยุคใหม่คือยุคศรีอารยเมตไตรยก็เกิดขึ้นมาแทนที่ปุถุชนคนใดจะค้านแก่นธรรม แห่งคำสั่งสอนของพระอรรถกถาจารย์ว่าท่านคิดอย่างจิตธรรมหรือจิตนิยมแล้วก็ควรศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรเป็นจิตธรรมและอะไรเป็นสสารธรรมพระอรรถกถาจารย์ได้ก้าวหน้ากว่าคนรุ่นเรามาก่อนแล้วหลายศตวรรษในการที่ ท่านเข้าใจกฎแห่งอนิจจังของพ ระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้งและได้นำมาใช้แก่กรณีของมนุษยสังคมได้อย่างถูกต้องตรงกับกฎธรรมชาติและกฎวิทยาศาสตร์ทางสังคมข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระอรรถกถาจารย์องค์นั้นที่ได้สัปปุรุษทั้งหลายดังกล่าวมาแล้วไว้ ณ ที่นี้ด้วยขอพลานุภาพแห่งพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์โปรดช่วยให้ท่านสาธุชนผู้มีศีลมีสัตย์ทั้งหลายจงหลุดพ้นจากการเบียดเบียนทั้งปวงภวตุสพพมงคลรกขนตุสพุพเทวตาสพุพพุ ทธานุภาเวนสถาโสตถีภวนตุเตได้สังสอนเราและภวตุสพพมงคลรกขนตุสพุพเทวดาสพุพธรรมานุภาเวนสถาโสตถีภวนตุเดภวตุสพพมงคลรักชนตุสพุพเทวตาสพุพสงฆานุภาเวนสถาโสตถีภวนตุเต

ไฟล์เสียงเรื่อง บทสุดท้าย

https://drive.google.com/file/d/1bWckVySUFPGNwVMcYOk14g_SI3cEA2LP/view?fbclid=IwAR1m9M5EBhEzSKc3r81HCrpz7uRcmuenOD_oLkZwRZFf024YhNcSZVSvl5k

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น