ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เรื่อง ทฤษฎีแห่ง“ วิชชา” หรือ“ สัมวุทธิวิทยา”

ปรีดี พนมยงค์ รัตนบุรุษสยาม

ประวัติผู้แต่ง

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม 2443 – 2 พฤษภาคม 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษา ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย หลังการปฏิวัติสยามในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาลพระยาพหลพลพยหุเสนาและแปลก พิบูลสงคราม มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี ความเห็นของเขาแตกกับแปลก พิบูลสงคราม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างปี 2484 ถึง 2488 และเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาพยายามบ่อนทำลายความชอบธรรมของประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ถือโทษเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม หลังสงครามยุติพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอื่นทวีความรุนแรงขึ้น หลังกรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เขาถูกใส่ร้ายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้บงการทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองครั้ง ต่อมาเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองนอกประเทศ ปี 2492 เขากับพันธมิตรทางการเมืองพยายามรัฐประหารรัฐบาลในขณะนั้นแต่ล้มเหลว ทำให้เขาและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมืองโดยสิ้นเชิง จากนั้นเขาลี้ภัยการเมืองในประเทศจีนและฝรั่งเศสโดยไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีก เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองในประเทศไทยและโลกอยู่เรื่อย ๆ จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการนำอัฐิเขากลับประเทศในปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานผ้าไตรในพิธีทักษิณานุประทาน อนุสรณ์ของเขาประกอบด้วยวันปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตลอดจนอนุสาวรีย์ และสถานที่และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อเขา เขามีภาพลักษณ์ตั้งแต่เป็นนักประชาธิปไตยไม่นิยมเจ้าไปจนถึงผู้นิยมสาธารณรัฐ การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของเขา และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดีเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านเผด็จการทหาร เสรีนิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ยูเนสโกยกให้เขาเป็นบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นอกจากนี้ยังได้รับเสนอชื่อเป็นชาวเอเชียแห่งศตวรรษด้วย

ย้อนอ่าน 'ความเป็นอนิจจังของสังคม' จาก ปรีดี พนมยงค์ ถึงสังคมไทยในปัจจุบัน

ไฟล์เรื่อง ทฤษฎีแห่ง“ วิชชา” หรือ“ สัมวุทธิวิทยา”

https://drive.google.com/file/d/1QB_hIZfa869aVh-kLqjumexTCH1QtwA7/view?usp=sharing

บทที่ ๑๒

ทฤษฎีแห่ง“ วิชชา” หรือ“ สัมวุทธิวิทยา”

                  ๑๒.๑ เท่าที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วก็เป็น แต่เพียงแสดงให้ท่านผู้อ่านเห็นเค้าของความเป็นอนิจจังแห่งสังคมโดยสังเขป แต่ปัญหาทางสังคมนั้นสลับซับซ้อนยุ่งยากมากอีกทั้งความเคลื่อนไหวของสังคมดำเนินไปโดยมนุษย์ที่มีจิตสำนึกซึ่งต่างกับสิ่งตามธรรมชาติชนิดที่ไม่มีจิตสำนึกดังนั้นนอกจากการพิจารณาให้เข้าใจกฎแห่งอนิจจังซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติโดยทั่วไปแล้วนักสังคมต้องมีศิลปะอีกด้วยและต้องเป็นศิลปะที่ประณีตมากไม่ใช่ศิลปะที่ขรุขระกะพร่องกะแพร่งโดยคัดลอกเอามาจากสังคมอื่นทั้งตุ้น

                   วิทยาศาสตร์และประณีตศิลปะทางสังคมเท่านั้นจึงจะทำให้นักสังคมบรรลุถึง“ วิชชา” คือความรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของสังคมข้าพเจ้าผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ยังมีความรู้น้อยและมีความผิดพลาดบกพร่องหลายประการเรื่องรองสังคมยังมีอีกมากมายที่ต้องศึกษา

                    อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าขอแนะนำไว้ว่าการบรรลุถึงซึ่งวิชชาในทางสังคมนั้นย่อมจะต้องอาศัย“ ทฤษฎีแห่งวิชชา” ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า THEORY OF KNOWLEDGE หรือ“ สัมวุทธิวิทยา “ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า EPISTEMOLOGY อันเป็นส่วนหนึ่งของวิชาปรัชญาซึ่งเป็นมูลฐานของสังคมปรัชญาด้วยเพราะมนุษยสังคมเป็นยอดสูงสุดของมนุษยชาติซึ่งกุมชะตากรรมของมนุษย์แต่ละคนที่เป็นสมาชิกของสังคม

                     ๑๒.๒ ปรัชญาเมธีมากหลายได้คิดค้นถึงวิธีที่จะให้มนุษย์รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะทั้งหลายดังนั้นทฤษฎีแห่งวิชชาหรือสัมวุทธิวิทยาจึงมีมากมายหลายอย่าง แต่ถ้าจะจำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ แล้วก็คงเป็นดังต่อไปนี้

                      (๑) จำพวกที่ถือว่าโดยลำพัง แต่ญาณหรือปัญญาของมนุษย์เท่านั้นไม่อาจทำให้มนุษย์รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะทั้งหลายได้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยอนุสติตั้งอยู่ก่อนมีญาณหรือปัญญาทฤษฎีเช่นนี้มีหลายอย่างเช่น TRAN SCENDENTALISM ซึ่งข้าพเจ้าขอถ่ายทอดตามสาระแห่งใจความเป็นศัพท์ไทยว่า“ บุพเพนิวาสานุสติทฤษฎี” FIDEISM ถือเอาความเชื่อถือเป็นอนุสติซึ่งข้าพเจ้าขอถ่ายทอดเป็นศัพท์ไทยว่า“ ศรัทธานุสติทฤษฎี” ฯลฯ

                     (๒) จำพวกที่ถือว่าญาณหรือปัญญาของมนุษย์สามารถทำให้มนุษย์รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะทั้งหลายทฤษฎีจำพวกนี้มีชื่อหลายอย่างเช่น RATION ALISM ถือเอาญาณหรือปัญญา (REASON) ของมนุษย์เป็นบ่อเกิดแห่งวิชชา (คำว่า REASON ทางปรัชญานั้นมาจากคำลาติน RATIO หมายถึงญาณหรือปัญญาไม่ใช่เหตุผลหรือดี แต่ชักเหตุผล) เราเรียกทฤษฎีนี้ว่า“ ญาณทฤษฎี “สำหรับ INTELLECTUALISM ซึ่งถือเอาปัญญาอันบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเจือปนจากอาการสัมผัสตามสามัญวิสัยเป็นหลักนั้นเราเรียกทฤษฎีนี้ว่า“ ปริสุทธิญาณทฤษฎี” ฯลฯ

                (๓) จำพวกที่ถือเอาการสัมผัสจากวิสัยหรืออวัยวะสัมผัสเป็นบ่อเกิดแห่งวิชชาเช่น SENSATIONALISM ซึ่งถือเอาการสัมผัสจากรูปธรรมเราเรียกว่า“ รูปสัมผัสทฤษฎี” EMPIRICISM ถือเอาการลงมือกระทำมาช้านานประกอบด้วยความสังเกตเราเรียกว่า“ นิษ ณ สัมผัสทฤษฎี” PRACTICE ซึ่งเป็นคำย่อมาจากวลีเต็มของเมธีแห่งวิทยาศาสตร์ทางสังคมซึ่งเขียนไว้ในต้นฉบับว่า“ HUMAN SENSUOUS ACTIVITY, PRACTICE “ถือเอาการ“ ผัสสะ” หรือ“ สัมผัส” (SENSE) จากกิจกรรมของมนุษยชาติซึ่งเป็นเรื่องของสัมวุทธิวิทยาไม่ใช่เรื่องปฏิบัติตามธรรมดาเพราะทุกทฤษฎีก็มีการปฏิบัติด้วยกันทั้งนั้นข้าพเจ้าขอถ่ายทอดเป็นศัพท์ไทยว่า“ กิจกรรมสัมผัสทฤษฎี” ระวังอย่าปนกับการปฏิบัติของทฤษฎี PRAG MATISM                

                 (๔) ทฤษฎีแห่งวิชาต่างๆดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องของปรัชญาฝ่ายยุโรปซึ่งถ้าจะตรวจให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่ามีหลายอย่างที่ยืมเอาไปจากพุทธอภิธรรมแล้วก็เดินทางอ้อมทวีปกลับมายังดินแดนไทยซึ่งได้รับรู้ทฤษฎีแห่งวิชชาหลายอย่างไว้ก่อนแล้ว

ไฟล์เสียงเรื่อง ทฤษฎีแห่ง“ วิชชา” หรือ“ สัมวุทธิวิทยา”

https://drive.google.com/file/d/1bI6VreMIS6lFkDsxgIEtg6Oh4JTwSGwH/view?fbclid=IwAR1Icpklp26LEgGekop4YWjUrY0KWEdzI6miD0sH22J2So4RbFB6pNXH4AU

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น