ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เรื่อง ประติการ = ไดอาเล็คติคส์

วันปรีดี พนมยงค์ 11 พฤษภาคม รำลึกถึงรัฐบุรุษผู้ขับเคลื่อนประชาธิปไตยไทย

ประวัติผู้แต่ง

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม 2443 – 2 พฤษภาคม 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษา ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย หลังการปฏิวัติสยามในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาลพระยาพหลพลพยหุเสนาและแปลก พิบูลสงคราม มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี ความเห็นของเขาแตกกับแปลก พิบูลสงคราม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างปี 2484 ถึง 2488 และเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาพยายามบ่อนทำลายความชอบธรรมของประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ถือโทษเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม หลังสงครามยุติพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอื่นทวีความรุนแรงขึ้น หลังกรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เขาถูกใส่ร้ายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้บงการทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองครั้ง ต่อมาเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองนอกประเทศ ปี 2492 เขากับพันธมิตรทางการเมืองพยายามรัฐประหารรัฐบาลในขณะนั้นแต่ล้มเหลว ทำให้เขาและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมืองโดยสิ้นเชิง จากนั้นเขาลี้ภัยการเมืองในประเทศจีนและฝรั่งเศสโดยไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีก เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองในประเทศไทยและโลกอยู่เรื่อย ๆ จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการนำอัฐิเขากลับประเทศในปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานผ้าไตรในพิธีทักษิณานุประทาน อนุสรณ์ของเขาประกอบด้วยวันปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตลอดจนอนุสาวรีย์ และสถานที่และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อเขา เขามีภาพลักษณ์ตั้งแต่เป็นนักประชาธิปไตยไม่นิยมเจ้าไปจนถึงผู้นิยมสาธารณรัฐ การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของเขา และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดีเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านเผด็จการทหาร เสรีนิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ยูเนสโกยกให้เขาเป็นบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นอกจากนี้ยังได้รับเสนอชื่อเป็นชาวเอเชียแห่งศตวรรษด้วย

ความเป็นอนิจจัง ของสังคม ของ ปรีดี พนมยงค์ โดย สโมสรมหาวิทยาลัยมหิดล หนา  110 หน้า - preechabooks : Inspired by LnwShop.com

ไฟล์เรื่อง ประติการ = ไดอาเล็คติคส์

https://drive.google.com/file/d/1vhq685lPmsHrO6CA2e-Ss-UG4Vwu-GT7/view?usp=sharing

เนื้อเรื่อง ประติการ = ไดอาเล็คติคส์

บทที่ ๑๑

ประติการ = ไดอาเล็คติคส์

                  ๑๑.๑ การเคลื่อนไหวของเครื่องมือการผลิตและบุคคลผู้ทำการผลิตอันประกอบเป็นพลังการผลิตก็ดีความสัมพันธ์การผลิตที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามนั้นก็ดีกายาพยพคือสถาบันและระบบสังคมตลอดจนทรรศนะทางสังคมที่มีกำเนิดมาจากสภาพความเป็นอยู่ทางชีวปัจจัยของสังคมที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามก็ดีย่อมต้องมี“ พลังงาน “(ENERGY) ที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ ทางสังคมนั้นเคลื่อนไหวไป

                  ในทางธรรมชาติวิทยานั้นสิ่งต่าง ๆ ย่อมมีด้านบวกกับด้านลบที่ปะทะกันอยู่ก่อให้เกิดพลังงานซึ่งในทางวิทยาศาสตร์อธิบายไว้ว่าอะไรอย่างหนึ่งที่ไม่มีตัวตน แต่สามารถทำงานได้เช่นสามารถทำให้น้ำเดือดทำให้พืชและสัตว์มีชีวิตอยู่ได้ทำให้เครื่องจักรกลเดินได้เป็นต้นซึ่งมีอยู่ในสสารทั่วไป

                   ในทางสังคมนั้นพลังงานทางสังคมที่มีอยู่ในสสารทางสังคมทั่วไปซึ่งเกิดจากวิถีตามที่ปรัชญาเมธีแห่งสสารธรรมเรียกตามศัพท์ทางปรัชญาว่า“ ไดอาเล็คติคส์” (DIALECTICS) และข้าพเจ้าขอยืมเอาคำสันสกฤตมาใช้เป็นศัพท์ไทยว่า“ ประติการ” ตามความหมายที่ศัพท์“ ไดอาเล็คติคส์” ได้วิวรรตผันแปร

มาเป็นข้อขัดแย้งที่ปะทะกันอยู่ภายในตัวของสิ่งต่าง ๆรวมทั้งภายในสังคมหนึ่ง ๆ

                    ๑๑.๒ เราต้องทำความเข้าใจว่า“ ไดอาเล็คติคส์ “ไม่ใช่ของใหม่ที่นักปราชญ์ยุโรปคิตขึ้นก่อนชาวเอเชียเป็นธรรมดาที่นักปราชญ์ทางยุโรปส่วนมากในปัจจุบันนี้ได้ค้นคว้าหาต้นเหตุทางปรัชญาเพียงสมัยกรีกโบราณ

                     ในบางตำรากล่าวไว้ว่า

                    “ ไดอาเล็คติคส์มาจากภาษากรีก DIALEGO คือการสนทนาการสากัจฉาในสมัยโบราณไดอาเล็คติคส์เป็นศิลปแห่งการบรรลุถึงสัจจะโดยการเผยข้อขัดแย้งในเหตุผลของฝ่ายตรงกันข้ามและโดยการล่วงพันข้อขัดแย้งเหล่านี้ในสมัยโบราณมีปรัชญาเมธีที่เชื่อว่าการเผยข้อขัดแย้งในความคิดและการปะทะกับความเห็นตรงข้ามเป็นวิถีดีที่สุดในการบรรลุถึงสัจจะต่อมาวิถีไดอาเล็คติคส์แห่งความคิดนี้ขยายไปยังปรากฏการณ์ทั้งหลายของธรรมชาติพัฒนาไปเป็นวิถีไตอาเล็คติคส์แห่งการที่จะเข้าใจธรรมชาติซึ่งถือว่าปรากฏการณ์ทั้งหลายของธรรมชาติเป็นสภาวะที่เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้งและการพัฒนาของธรรมชาติเป็นผลแห่งการพัฒนาของข้อขัดแย้งในธรรมชาติซึ่งเป็นผลแห่งการต่างโต้กันของพลังงานตรงข้ามในธรรมชาติ

                   ผู้อ่านตำรานั้นพึงสังเกตว่า  ตำราบอกไว้ชัดพอสมควรแล้วว่าเดิมคำนี้ใช้ในเรื่องที่มีการพูดต่อมาใช้ในการคิดต่อมาขยายมาเป็นข้อขัดแย้งที่มีอยู่ในธรรมชาติซึ่งก้าวหน้าไปไกลมากจากเรื่องที่มีการพูด

                   ในตำรานั้นมิได้กล่าวว่านักปรัชญากรึกผู้ใดที่ใช้วิเช่นนั้น แต่ข้าพเจ้าได้ค้นพบว่าสำนักปรัชญากรีกโบราณที่ใช้วิถีไดอาเลโกก็คือสำนักของ“ สิโนแห่งอีเลีย” ซึ่งเกิดภายหลังพุทธกาลประมาณ ๖๐ ปีสำนักนั้นเรียกศิลปะนิดนั้นว่า DIALENTINE (ไดอาเล็กติเก) ซึ่งผสมระหว่างคำ DIALEGO กับคำ TEKNE (เด็กเน) ที่แปลว่า“ ศิลป” หรือ“ วิทยา” เมื่อรวมคำที่ผสมกันเป็น“ ไดอาเล็กติเก” แล้วก็แปลว่า ศิลปหรือวิทยาแห่งสากัจฉา

                    เมื่อประมาณ ๒๐ กว่าปีมานี้ข้าพเจ้าได้เคยแสดงปาฐกถาครั้งหนึ่งในประเทศไทยแสดงถึงความเกี่ยวพันระหว่างปรัชญากรักกับพระอภิธรรมของพุทธศาสนาซึ่งเคยแพร่ไปถึงดินแดนกรึกโบราณบัดนี้ข้าพเจ้าคิดว่าวิธี“ ไดอาเล็กติเก” ของกรีกโบราณก็คือวิธี“ ธรรมสากัจฉา” ซึ่งปุจฉาวิสัชนาธรรมของพระพุทธองค์นั้นเอง

                    วิธีไดอาเล็กติเกหรือไดอาเล็คติคส์ของกรีกโบราณไม่ใช่วิธีที่เรียกว่า“ วิภาษ” พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่าวิภาษก. พูดแตกต่างพูดแย้ง (ส. ๒๔ ภาษ)” เพราะวิธีวิภาษของปรัชญากรีกยังมีอีกสำนักหนึ่งซึ่งเกจิอาจารย์จำพวก“ โซฟิสต์” ได้แนะไว้เรียกว่า“ อีรีสติคส์” (ERISTICS) คือการโต้วาที่ชนิดเอาชนะแพ้กันทางคารม

                    อย่างไรก็ตามตำราที่ข้าพเจ้าอ้างถึงข้างบนนี้ก็บอกไว้ชัดแจ้งแล้วว่าวิธีไดอาเล็คติคส์ของกรีกโบราณได้วิวรรตผันแปรจากการเป็นวิธีสากัจฉามาเป็นวิธีใช้ความคิดผู้อ่านควรรู้ว่าในสมัยกรีกต่อมานั้นได้ใช้คำ“ ไดอาเล็กติเก” ซึ่งแผลงมาจากไดอาเลโกเพื่อหมายถึงวิชาที่เรียกในยุคปัจจุบันว่า LOGIC หรือตรรกวิทยาในยุโรปยุคกลางที่ยังไม่มีผู้ตั้งศัพท์ Logic ขึ้นนั้นการสอนตรรกวิทยาก็เรียกว่าวิชา“ ไดอาเล็คติคส์” ต่อมาในต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ปรัชญาเมธีเยอรมันชื่อเฮเกลได้นำเอาศัพท์นี้ไปใช้เพื่อหมายถึงการปะทะโต้แย้งในวิถีของการใช้ความคิดที่จะบรรลุถึงสัจจะอันเป็นวิธีตรรกวิทยาและถือว่าสสารกับจิตก็มีวิถีเคลื่อนไหวโดยมีการปะทะของสิ่งตรงข้ามระหว่างกันครั้นแล้วปรัชญาเมธีฝ่ายสสารธรรมก็นำเอาคำนี้มาใช้ตามความหมายดั่งตำราที่อ้างข้างบนนั้นกล่าวไว้และมีนักปราชญ์บางท่านได้สรุปว่า

                    “ ตามความหมายที่ถูกต้องไดอาเล็คติคส์คือการศึกษาพิจารณาถึงข้อขัดแย้งภายในแก่นอันเป็นสาระโดยเฉพาะของสิ่งทั้งหลาย”

                     ดังนั้นข้าพเจ้าจึงถ่ายทอดคำอังกฤษไดอาเล็คติคส์มาเป็นภาษาไทยว่า“ ประติการ “

                    ๑๑.๓ ผู้อ่านย่อมเห็นได้ว่าในทางสังคมนั้นมีสภาวะที่ตรงกันข้ามอยู่ทั่วไปที่ปะทะกันเช่นสภาวะใหม่กับสภาวะเก่าพลังใหม่กับพลังเก่าความคิดใหม่กับความคิดเก่าดังนั้น“ ประติการ” จึงมีอยู่ทั่วไปในสังคมอันก่อให้เกิดพลังงานที่ทำให้สังคมเคลื่อนไหวไปทำนองเดียวกันกับสิ่งตามธรรมชาติทั้งหลายที่มีด้านบวกกับด้านลบปะทะกันอันก่อให้เกิดพลังงาน

                    ข้าพเจ้าเห็นว่าสังคมทุกประเภทย่อมมีประติการและไม่เห็นด้วยกับบางท่านที่กล่าวว่าเมื่อสังคมบรรลุถึงขั้นนั้น ๆ แล้วก็ไม่มีประติการการปฏิเสธหลักประติการตั้งว่านั้นเป็นการปฏิเสธกฎแห่งความเคลื่อนไหวของสังคมโดยยอมรับว่าเมื่อสังคมพัฒนาถึงขั้นนั้น ๆ แล้วก็หยุดนิ่งไม่พัฒนาต่อไป               

                     แม้ในสังคมปฐมลหการที่ไม่มีวรรณะนั้นด้านบวกกับด้านลบของสังคมคือประติการก็มีมิฉะนั้นสังคมประเภทนี้จะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบทางได้อย่างไร?

                     ประติการในสังคมปฐมสหการเป็นข้อขัดแย้งในความคิดที่ต้องใช้เพื่อพัฒนาเครื่องมือการผลิตและความสามารถในการใช้และการทำเครื่องมือของบุคคลผู้ผลิตตลอดจนข้อขัดแย้งในการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์การผลิตเพื่อให้ได้ผลยิ่งขึ้นในการผลิตและกายาพยพของสังคมที่จะต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นด้วย

                      แต่ความขัดแย้งในสังคมปฐมสหการก็ดีสังคมกิจที่ดีเป็นประติการในระหว่างความถูกต้องและความผิดพลาดระหว่างมนุษย์ในสังคมซึ่งมีการประนี้ประนอมกันได้โดยถือเอาผลที่เป็นยอดแห่งความคิดที่ปะทะกันนั้นประติการในสังคมเช่นนั้นจึงไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างปรปักษ์

                      ส่วนประตีการในสังคมที่มีวรรณะนั้นการขัดแย้งระหว่างวรรณะซึ่งไม่

อาจประนีประนอมกันได้เป็นการต่อสู้ระหว่างปรปักษ์ซึ่งทำให้สังคมเคลื่อนไหวไปอย่างรุนแรงกว่าประการในสังคมที่ปราศจากวรรณะ

                      ดังนั้น  เราจะเห็นได้ว่านับตั้งแต่มีมนุษยชาติเป็นต้นมาซึ่งบางท่านประมาณว่าไม่น้อยกว่าหกแสนปีมาแล้วมนุษยชาติอยู่ในระบบปฐมสหการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕๔๐,๐๐๐ ปีเศษมนุษยชาติบางส่วนเพิ่งเริ่มเข้าสู่ระบบทาสเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมานี้เองแม้กระนั้นก็ยังมีสังคมปฐนสหการเหลืออยู่อีกในบางท้องถิ่นของโลกเมื่อไม่นานมานี้ทั้งนี้ก็เพราะพลังงานอันเกิดจากประติการในสังคมปฐมสหการนั้นไม่มีความรุนแรงจึงทำให้สังคมชนิดนั้นเคลื่อนไหวไปช้าๆส่วนประติการสังคมที่มีวรรณะต่างๆเป็นปรปักษ์ต่อกันนั้นก่อให้เกิดพลังงานมากจึงทำให้สังคมเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหวของระบบปฐมสหการยิ่งเป็นระบบ ธ นานุภาพของบางสังคมที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติซึ่งเข้าสู่ระบบสังคมกิจแล้วนั้นผู้อ่านก็จะเห็นได้ว่าเพียงชั่วเวลาประมาณ 4 ๑๐๐ ปีที่ระบบ ธ นานุภาพอุบัติขึ้นในสังคมนั้นแล้วสังคมนั้นก็เคลื่อนไหวเสื่อมสลายไปเร็วมากกว่าสังคมอื่น

                    ข้าพเจ้าเห็นว่าผู้มีศรัทธาในระบบสังคมชั้นใดไม่น่าวิตกกังวลอาลัยเสียดายถึงกับจะต้องปฏิเสธกฎประการคือเมื่อสังคมบรรลุถึงขั้นสูงนั้น ๆ แล้วแม้จะไม่มีประติการชนิดปรปักษ์ระหว่างวรรณะ แต่ก็มีประติการที่จะทำให้สังคมขั้นนั้น ๆ พัฒนาสูงยิ่งขึ้นตามลำดับ

ไฟล์เสียงเรื่อง ประติการ = ไดอาเล็คติคส์

https://drive.google.com/file/d/1bCwz9dipTN3eP7yE0jyTEtaNsAT-Wxxx/view?fbclid=IwAR3UWJgzwnm-FLQQCo19pLx3Cr3k8kZjKI14DAGSjUQ1FZWvAoiRkCQQkm4

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น