ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เรื่อง วิถีแห่งอาการเคลื่อนไหวของสังคม

File:ปรีดี พนมยงค์ลี้ภัยสิงคโปร์.jpg - Wikimedia Commons

ประวัติผู้แต่ง

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม 2443 – 2 พฤษภาคม 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษา ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย หลังการปฏิวัติสยามในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาลพระยาพหลพลพยหุเสนาและแปลก พิบูลสงคราม มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี ความเห็นของเขาแตกกับแปลก พิบูลสงคราม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างปี 2484 ถึง 2488 และเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาพยายามบ่อนทำลายความชอบธรรมของประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ถือโทษเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม หลังสงครามยุติพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอื่นทวีความรุนแรงขึ้น หลังกรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เขาถูกใส่ร้ายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้บงการทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองครั้ง ต่อมาเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองนอกประเทศ ปี 2492 เขากับพันธมิตรทางการเมืองพยายามรัฐประหารรัฐบาลในขณะนั้นแต่ล้มเหลว ทำให้เขาและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมืองโดยสิ้นเชิง จากนั้นเขาลี้ภัยการเมืองในประเทศจีนและฝรั่งเศสโดยไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีก เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองในประเทศไทยและโลกอยู่เรื่อย ๆ จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการนำอัฐิเขากลับประเทศในปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานผ้าไตรในพิธีทักษิณานุประทาน อนุสรณ์ของเขาประกอบด้วยวันปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตลอดจนอนุสาวรีย์ และสถานที่และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อเขา เขามีภาพลักษณ์ตั้งแต่เป็นนักประชาธิปไตยไม่นิยมเจ้าไปจนถึงผู้นิยมสาธารณรัฐ การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของเขา และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดีเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านเผด็จการทหาร เสรีนิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ยูเนสโกยกให้เขาเป็นบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นอกจากนี้ยังได้รับเสนอชื่อเป็นชาวเอเชียแห่งศตวรรษด้วย

ความเป็นอนิจจังของสังคม - Ookbee ร้านอีบุ๊ค (E-Book) ครบทั้งหนังสือ การ์ตูน  นิตยสาร

ไฟล์เรื่อง วิถีแห่งอาการเคลื่อนไหวของสังคม

https://drive.google.com/file/d/1hNUx-dvmam4qdT3RTgyMuf18Yt-Jeyz4/view?usp=sharing

เนื้อเรื่อง วิถีแห่งอาการเคลื่อนไหวของสังคม

บทที่ ๑๐

วิถีแห่งอาการเคลื่อนไหวของสังคม

                   ๑๐.๑ ต่อไปนี้ก็เป็นการสมควรที่จะต้องกล่าวถึงวิถีแห่งอาการเคลื่อนไหวของสังคมว่าการเปลี่ยนแปลงจากระบบเก่าเข้าสู่ระบบใหม่นั้นเป็นไปตามจังหวะอย่างไร

                  ก่อนอื่น ผู้อ่านย่อมสังเกตได้จากท่านที่ได้ประสบเองและจากที่ข้าพเจ้าได้นำเอาปรากฏการณ์ซึ่งเกิดขึ้นแก่สังคมทั้งหลายในโลกนี้มากล่าวไว้นั้นว่าระบบสังคมที่เปลี่ยนไปแล้วหลายทอดนั้นย่อมเข้าเข้าสู่ระบบสังคมใหม่ที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเสมอมิใช่ถอยหลังกลับไปสู่ระบบล้าหลังเว้นไว้ แต่ในระยะหัวต่อหัวเลี้ยวที่มีสิ่งบังตาอยู่ตามที่ได้กล่าวในตอนต้นทั้งนี้ก็เพราะตามกฎธรรมชาตินั้นสิ่งทั้งหลายย่อมพัฒนาจากปริมาณเข้าสู่คุณภาพที่ดียิ่งขึ้นเสมอ

                   ๑๐.๒ จังหวะของการเคลื่อนไหวมีอยู่สองชนิดคือ

                  (๑) วิถีวิวัฒน์ กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงที่สภาวะใหม่ของสังคมได้ดำเนินกิจกรรมประจำวันไปโดยความสำนึกตามธรรมชาติเองและทำให้สภาวะเก่าเปลี่ยนแปลงทางปริมาณจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งเมื่อรวมกันเข้าก็ได้จำนวนการเปลี่ยนแปลงมากซึ่งเป็นการเปลี่ยนระบบเก่าทั้งระบบเช่นการเปลี่ยนแปลงระบบทาสในสังคมไทยที่เป็นไปตามวิถีวิวัฒน์ที่ละเล็กละน้อยในที่สุดก็เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบทาสทั้งระบบ 

                  การเปลี่ยนแปลงระบบศักดินามาเป็นระบบ ธ นานุภาพของหลายสังคมก็ดำเนินไปตามวิถีวิวัฒน์เช่นในอังกฤษซึ่งในที่สุดส่วนใหญ่ของระบบศักดินาทีเปลี่ยนเป็นระบบ ธ นานุภาพและพัฒนาเป็นบรม ธ นานุภาพ (imperialism) โดยไม่มีการอภิวัฒน์ที่รุนแรง

                   อันที่จริงถ้ากายาพยพหรือร่างกายของสังคมคือสถาบันและระบบการเมืองได้ดำเนินให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ทางชีวปัจจัยของสังคมโดยไม่สำช้าจนเกินไปนักแล้วสังคมก็เปลี่ยนไปตามวิถีวิวัฒน์ที่มิใช่การอภิวัฒน์อย่างรุนแรง

                    (๒) วิถีอภิวัฒน์ กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงที่สภาวะใหม่ของสังคมได้ประสานกันน้าเปลี่ยนระบบเก่าที่ล้าหลังกว่าความพัฒนาในสภาพความเป็นอยู่ทางชีวปัจจัยของสังคมอันเป็นการเปลี่ยนทางคุณภาพโดยการกระทำฉับพลันหรือการกระท่าจุดเดียวซึ่งต่างกับการเปลี่ยนโดยวิถีวิวัฒน์ที่ทำมาทีละน้อย ๆ   

                      ตามกฎธรรมชาตินั้นกายาพยพต้องสมานกับสสารดังนั้นถ้ากายาพยพของสังคมเปลี่ยนลำช้ากว่าความเป็นอยู่ทางชีวปัจจัยของสังคมจนเนิ่นนานเกินสมควรแล้วธรรมชาติกบังคับให้กายาพยพจำต้องสมานกับสสารจนได้คือเมื่อไม่เป็นไปตามวิถีวิวัฒน์ก็ต้องเป็นไปตามวิถือภิวัฒน์เช่นการเปลี่ยนในแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ต้องเป็นไปเช่นนั้นเพราะกายาพยพของสังคมเปลี่ยนแปลงสำช้าเกินสมควรกว่าการเปลี่ยนแปลงทางชีวปัจจัยของสังคมการเปลี่ยนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่งเศสในปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งต้องเป็นไปโดยวิถีอภิวัฒน์ก็เพราะกายาพยพของศักดินาไม่ยอมเปลี่ยนโดยวิถีวิวัฒน์ให้สมานกับสภาพความเป็นอยู่ทางชีวปัจจัยที่ก้าวหน้าไปมาก

ไฟล์เสียงเรื่อง วิถีแห่งอาการเคลื่อนไหวของสังคม

https://drive.google.com/file/d/1b9BPL7kZu5H7WgNvbi-pdSFDB-iXB0xx/view?fbclid=IwAR3YapKYPMPxYEx0z7DzMIArBea2B-dDrTwrH5BMzMibavuaxHueJwB9bNI

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น