ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เรื่อง วรรณะ ฐานันดร ชนชั้น

2.นายปรีดี พนมยงค์ - แนะนำประวัตินายกรัฐมนตรีของไทย

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม 2443 – 2 พฤษภาคม 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษา ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย หลังการปฏิวัติสยามในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาลพระยาพหลพลพยหุเสนาและแปลก พิบูลสงคราม มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี ความเห็นของเขาแตกกับแปลก พิบูลสงคราม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างปี 2484 ถึง 2488 และเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาพยายามบ่อนทำลายความชอบธรรมของประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ถือโทษเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม หลังสงครามยุติพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอื่นทวีความรุนแรงขึ้น หลังกรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เขาถูกใส่ร้ายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้บงการทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองครั้ง ต่อมาเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองนอกประเทศ ปี 2492 เขากับพันธมิตรทางการเมืองพยายามรัฐประหารรัฐบาลในขณะนั้นแต่ล้มเหลว ทำให้เขาและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมืองโดยสิ้นเชิง จากนั้นเขาลี้ภัยการเมืองในประเทศจีนและฝรั่งเศสโดยไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีก เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองในประเทศไทยและโลกอยู่เรื่อย ๆ จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการนำอัฐิเขากลับประเทศในปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานผ้าไตรในพิธีทักษิณานุประทาน อนุสรณ์ของเขาประกอบด้วยวันปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตลอดจนอนุสาวรีย์ และสถานที่และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อเขา เขามีภาพลักษณ์ตั้งแต่เป็นนักประชาธิปไตยไม่นิยมเจ้าไปจนถึงผู้นิยมสาธารณรัฐ การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของเขา และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดีเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านเผด็จการทหาร เสรีนิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ยูเนสโกยกให้เขาเป็นบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นอกจากนี้ยังได้รับเสนอชื่อเป็นชาวเอเชียแห่งศตวรรษด้วย

ย้อนอ่าน 'ความเป็นอนิจจังของสังคม' จาก ปรีดี พนมยงค์ ถึงสังคมไทยในปัจจุบัน

เนื้อเรื่อง เรื่อง วรรณะ ฐานันดร ชนชั้น

บทที่ ๖

วรรณะ  ฐานันดร  ชนชั้น

                 ๖.๑ วรรณะหรือฐานันดรหรือชนชั้นซึ่งแปลมาจากศัพท์อังกฤษ CLASS นั้นเป็นการแบ่งสมาชิกแห่งสังคมตามฐานะและวิถีดำรงชีพแห่งสภาพความเป็นอยู่ทางชีวปัจจัยในสังคม

                 ๖.๒ ในสังคมปฐมสหการสมาชิกทั้งหลายร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันฉันพี่น้องฐานะและวิถีดำรงชีพของสมาชิกแห่งสังคมจึงไม่แตกต่างกันดังนั้นภาวะแห่งการที่จะแบ่งแยกออกเป็นวรรณะหรือฐานันดรหรือชนชั้นจึงไม่มี

                  ๖.๓ ในสังคมทาสศักดินา ธ นานุภาพซึ่งสมาชิกในสังคมมีฐานะและวิถีตำรงชีพต่าง ๆกันสมาชิกในสังคมก็แบ่งแยกออกเป็นวรรณะหรือฐานันดรหรือชนชั้นต่าง ๆ และยิ่งฐานะและวิถีดำรงชีพของสังคมประเภทเหล่านี้สลับซับซ้อนมากเพียงใดวรรณะหนึ่ง ๆ ก็ยังแบ่งแยกออกเป็นจำพวกและเหล่าย่อยลายอย่างในสังคมสังคมกิจ (สังคมนิยม) ซึ่งตามนั้นฐานะและวิถีดำรงชีพของสมาชิกแห่งสังคมจะไม่แตกต่างกัน แต่เมธีวิทยาศาสตร์ทางสังคมก็ได้กล่าวไว้ว่าซากแห่งความคิดของสังคมเก่าจะยังตกค้างอยู่อีกกาละหนึ่ง

                  ๖.๔ การจำแนกสมาชิกของสังคมตามฐานะและวิถีดำรงชีพนั้นรูปแบบของยุโรปกับของอาเซียใต้ผิดแผกแตกต่างกันบ้าง แต่ในสาระแล้วก็คำนึงถึงฐานันดรสมบัติคือปัจจัยการผลิตเป็นหลักสำคัญโดยจำแนกตามความมากน้อยและจักซอยตามฐานะและวิถีดำรงชีพที่มีสัญลักษณ์พิเศษออกไปอีก

                   ๖.๕ ในทางยุโรปนั้นปรัชญาเมธีได้อาศัยหลักของชาวโรมันซึ่งจำแนกบุคคลเพื่อรับใช้สังคมในกองทัพเรียกเป็นภาษาลาตินว่า CLASSIS (คล้าสสิส) ซึ่งภาษาอังกฤษแปลงมาเป็น CLASS (คล้าส) และท่านที่นิยมแบบยุโรปได้แปลเป็นไทยว่า“ ชนชั้น”

                    ในสมัยโรมันนั้นได้แบ่งบุคคลออกเป็น“ คลาสสิส” ต่าง ๆเพื่อรับใช้สังคมในกองทัพโดยถือตามกำลังสมบัติของบุคคลเพราะบุคคลที่เป็นนักรบในกองทัพโรมันนั้นจะต้องมีอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนเองผู้ใดมีสมบัติมากเช่นมีม้ารถทาสมากก็อยู่ในประเภทชั้นสูงผู้ใดมีสมบัติน้อยลงมาก็อยู่ในขั้นต่ำลงมาผู้ใดไม่มีสมบัติจะรับใช้สังคมได้ก็ แต่โดยมีลูกภาษาลาตินเรียกลูกว่า PROLES (โปรเลส) จึงแผลงศัพท์นี้มาเป็น PROLETARIUS (โปรเลตาริอุส) ซึ่งหมายถึงชนชั้นผู้ไร้สมบัติ

                     ภาษาฝรั่งเศสแผลงคำ PROLETARIUS มาเป็น PRO.ETARIAT (โปรเลตาริอาต์หรือออกสำเนียงเร็วเป็นโปรเลตาริยาต์) อังกฤษเอาคำฝรั่งเศสนี้ไปทับศัพท์ แต่ออกสำเนียงว่า“ โพรลีตาเรียต “ซึ่งมีผู้แปลว่าชนกรรมาชีพ แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าควรแปลว่าชนชั้นไร้สมบัติหรือวรรณะผู้ไร้สมบัติ

                   ภาษาจีนเคยใช้ทับศัพท์อยู่นานโดยออกสำเนียงว่า“ ผ่หลอเลี้ยะทะเลียะย่า” แต่ในที่สุดใช้ศัพท์ใหม่ว่า“ อู่ฉ่านเจียจิ” (แต้จิ๋วออกสำเนียง: ป้อขั้วไกขับ) ซึ่งแปลว่าชนชั้นหรือวรรณะที่ไม่มีสมบัติหรือไร้สมบัติ

                    ๖.๖ ส่วนอาเซียใต้ซึ่งถือคติฮินดูที่ครอบงำอยู่ทั่วไปในดินแดนส่วนนี้ของโลกนั้นจำแนกบุคคลในสังคมออกเป็น“ วรรณะ” ซึ่งตามมูลศัพท์แปลว่าผิวหรือสีเนื้อ

                    ในยุคคัมภีร์พระเวทหลายศตวรรษก่อนพุทธกาลนั้นมโนสาราจารย์ได้จำแนกบุคคลในสังคมออกเป็นวรรณะโดยคำนึงถึงฐานะและวิถีดำรงชีพคือแบ่งบุคคลในสังคมออกเป็นวรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ซึ่งเป็นนักบวชได้รับความยกย่องให้เป็นผู้ใหญ่หัวหน้าสังคมกษัตริย์ซึ่งเป็นนักรบผู้ถืออาวุธป้องกันสังคมแพศย์เป็นผู้ทำการเลี้ยงสัตว์และทำการค้ามีสมบัติบ้านเรือนศูทร์คือผู้ไม่มีสมบัติซึ่งต้องรับใช้วรรณะที่สูงกว่า

                    การแบ่งวรรณะแห่งยุคพระเวทได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขในสมัยต่อมาการแบ่งวรรณะที่ใช้อยู่ในแคว้นมคธและแคว้นใกล้เคียงเมื่อครั้งพุทธกาลได้เข้ามาสู่สังคมไทยหลายศตวรรษแล้วคือวรรณะกษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินสูงสุดของสังคมพราหมณ์ตกลงไปเป็นครูของกษัตริย์ส่วนผู้มีสมบัตินั้นได้จำแนกออกเป็น ๓ อันดับ คือ

                     อันดับที่ ๑ ได้แก่ “ เศรษฐี “คือคนมั่งมีที่ดินและสมบัติมากในสังคม

                     อันดับที่ ๒ ได้แก่ “ คฤหบดี” คือผู้ครองเรือนซึ่งมีที่ดินและสมบัติขนาดกลาง

                     อันดับที่ ๓ ได้แก่ “ กระฎุมพี” คือพ่อค้าเมล็ดพืชในชนบทและให้ชาวนากู้เงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งถือเป็นวรรณะที่เกือบจะตกเป็นคนชั้นต่ำอันที่จริงมวลราษฎรไทยเข้าใจความหมายของวรรณะกระฎุมพีได้ดีพอสมควรทีเดียวจึงเรียกวรรณะนี้คู่กันไปกับข้าที่ดินหรือไพร่ว่า“ ไพร่กระฎุมพี” ถ้าจะเทียบกับการแบ่งชนชั้นแบบยุโรปแล้วก็เท่ากับนายทุนน้อยเท่านั้นเองฉะนั้นกระดุมพี่จึงเป็นวรรณะที่ต่ำกว่าชนชั้นซึ่งเรียกตามภาษาฝรั่งเศสว่า BOURGEOIS (บูร์ตัวส์) ซึ่งเป็นนายทุนขนาดใหญ่โตมโหฬาร

                    วิทยาศาสตร์ทางสังคมนิยามได้ว่าบูร์จัวส์ ได้แก่ นายทุนสมัยใหม่ซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตของสังคมฯ ดังนั้นถ้าจะเทียบคติกับฮินดูเรื่องวรรณะแล้ว“ บูร์จัวส์” ก็น่าจะ ได้แก่ วรรณะ“ เศรษฐี” แต่บูร์จัวส์” นั้นในชั้นเดิมเป็นพ่อค้าซึ่งได้รับสัมปทานจากเจ้าศักดินาให้ปกครองบุรีซึ่งเป็นปฐมกาลแห่งการปกครองเทศบาล แต่ต่อมาพวกนี้ได้สะสมสมบัติไว้มากแล้วทำการสู้เจ้าศักดินาซึ่งทำให้เจ้าศักดินาหมดอำนาจไปแล้วตนเองก็ขี่ครองสังคมแทนซึ่งเท่ากับเป็นเจ้าเชนิดหนึ่งคือเจ้าปัจจัยการผลิตของสังคมซึ่งเป็นสมบัติของสังคม (Modern Capitalists, owners of social production and employers of wage-labour) ข้าพเจ้าจึงเรียกบูร์จัวส์ว่าเจ้าสมบัติ

ไฟล์เสียงเรื่อง วรรณะ ฐานันดร ชนชั้น

https://drive.google.com/file/d/1b1P6mTMSFkkLxN1Dg0kP6l1Favm5YXpK/view

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น