ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เรื่อง สมุฏฐานของมนุษย์และมนุษยสังคม

ปรีดี พนมยงค์ รัตนบุรุษสยาม

ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ หรืออำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม 2443 – 2 พฤษภาคม 2526) เป็นนักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง และนักการทูตชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การ (ผู้ก่อตั้ง) มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยปารีส ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษา ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย หลังการปฏิวัติสยามในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาลพระยาพหลพลพยหุเสนาและแปลก พิบูลสงคราม มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี ความเห็นของเขาแตกกับแปลก พิบูลสงคราม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างปี 2484 ถึง 2488 และเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาพยายามบ่อนทำลายความชอบธรรมของประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ถือโทษเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม หลังสงครามยุติพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองอื่นทวีความรุนแรงขึ้น หลังกรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เขาถูกใส่ร้ายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้บงการทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองครั้ง ต่อมาเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองนอกประเทศ ปี 2492 เขากับพันธมิตรทางการเมืองพยายามรัฐประหารรัฐบาลในขณะนั้นแต่ล้มเหลว ทำให้เขาและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมืองโดยสิ้นเชิง จากนั้นเขาลี้ภัยการเมืองในประเทศจีนและฝรั่งเศสโดยไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีก เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองในประเทศไทยและโลกอยู่เรื่อย ๆ จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการนำอัฐิเขากลับประเทศในปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานผ้าไตรในพิธีทักษิณานุประทาน อนุสรณ์ของเขาประกอบด้วยวันปรีดี พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตลอดจนอนุสาวรีย์ และสถานที่และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตั้งตามชื่อเขา เขามีภาพลักษณ์ตั้งแต่เป็นนักประชาธิปไตยไม่นิยมเจ้าไปจนถึงผู้นิยมสาธารณรัฐ การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของเขา และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดีเขาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านเผด็จการทหาร เสรีนิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ยูเนสโกยกให้เขาเป็นบุคคลสำคัญของโลก และร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล นอกจากนี้ยังได้รับเสนอชื่อเป็นชาวเอเชียแห่งศตวรรษด้วย

ความเป็นอนิจจัง ของสังคม ของ ปรีดี พนมยงค์ โดย สโมสรมหาวิทยาลัยมหิดล หนา  110 หน้า - preechabooks : Inspired by LnwShop.com

ไฟล์เรื่อง สมุฏฐานของมนุษย์และมนุษยสังคม

บทที่ ๕

สมุฏฐานของมนุษย์และมนุษยสังคม

                     ๕.๑เมื่อเราได้พิจารณาปรากฏการณ์แห่งความเคลื่อนไหวของสังคมต่าง ๆมาพอสังเขปที่จะทำให้เห็นสัจจะของกฎแห่งอนิจจังแล้วเราก็ควรพิจารณาต่อไปอีกขั้นหนึ่งว่าอะไรเป็นสมุฏฐานของสังคมที่เกี่ยวโยงสังคมทั้งระบบและทรรศนะทางสังคมในการเคลื่อนไหว

                     ดังนั้น เราจึงต้องเข้าสู่ปัญหาปรัชญาซึ่งเมธีทั้งหลายได้ค้นคว้ากันมาช้านานว่าอะไรเป็นสมุฏฐานของสิ่งทั้งหลายซึ่งเป็นรากฐานของสิ่งทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์และสังคมของมนุษย์ให้มีอาการเคลื่อนไหวไป

                    ๕.๒ ปรัชญามีหลายสำนัก แต่ถ้าจะรวมเข้าแล้วแยกออกเป็นประเภทใหญ่ก็จะมีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่เท่านั้นคือฝ่ายหนึ่งถือว่า จิต เป็นสมุฏฐานของสิ่งทั้งหลายซึ่งเราเรียกว่า จิตธรรม อีกฝ่ายหนึ่งถือว่าสสาร เป็นสมุฏฐานของสิ่งทั้งหลายซึ่งเราเรียกว่าสสารธรรม

                     สิทธิที่ถือว่าธาตุเป็นสมุฏฐานตามคติของเมธีกรีกโบราณบางจำพวกและลัทธิที่ถือเอาวัตถุเป็นสรณะหรือวัตถุนิยมตามคติของปรัชญาเมธีฝรั่งเศสแห่งคริสตศตวรรษที่ ๑๘ ก็รวมอยู่ในประเภทสสารธรรมหาก แต่ไม่ใช่สสารธรรมทางวิทยาศาสตร์ ข้าพเจ้าใช้คำสสารในที่นี้โดยมีความหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า MATTER (แมตเตอร์) ซึ่งมี ๓ สถานะ คือของแข็ง ของเหลว และก๊าส

                     ๕.๓ข้าพเจ้าจำเป็นต้องขอทำความเข้าใจไว้ก่อนเพื่อป้องกันความเข้าใจของบางคนที่เอียงไปทางใดทางหนึ่งจนสุดเหวี่ยงตามสูตรสำเร็จที่ได้รับมาอันที่จริงระบบปรัชญาทั้งสองนั้นต่างก็ยอมรับว่าในตัวมนุษย์ย่อมมีทั้งสสารและจิตความต่างกันอยู่ที่ว่าสสารหรือจิตเป็นสมุฏฐานและความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับจิตมีอยู่อย่างไรสสารมีอิทธิพลเหนือจิตและจิตมีอิทธิพลเหนือสสารอย่างไรบ้าง

                     ๕.๔บางคนที่ถือสูตรสำเร็จเพียงแง่ที่ว่าสสารเป็นบ่อเกิดแห่งจิตเท่านั้นแล้วก็อาจเข้าใจเอาเองเกินไปจนสุดเหวี่ยงโดยไม่ยอมรับอิทธิพลของจิตที่แม้จะเกิดมาจากสสารเป็นเบื้องแรก แต่ก็มีอิทธิพลสะท้อนไปยังสสารและยิ่งไปกว่านั้นก็อาจกล่าวหาผู้ที่พิจารณาสภาพของจิตทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นผู้ล้าหลัง แต่แท้ที่จริงผู้กล่าวนั้นเองล้าหลังเพราะวิทยาศาสตร์ทางจิตของสสารธรรมนั้นก้าวหน้าไปไกลซึ่งตนตามไม่ทันแล้ว

                     เมธีฝ่ายสสารทางวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่าความเคลื่อนไหวของมนุษย์และสังคมของมนุษย์นั้นต่างกับความเคลื่อนไหวของสิ่งที่ไม่มีชีวิตกล่าวคือมนุษย์และสังคม เคลื่อนไหวไปโดยมนุษย์มีจิตสำนึก แต่สิ่งที่ไม่มีชีวิตนั้นเคลื่อนไหวไปโดยไม่มีจิตสำนึกอิทธิพลของจิตในทางวิทยาศาสตร์แห่งจิตมีอยู่ไม่น้อยดั่งที่

นักวิทยาศาสตร์ฝ่ายสสารได้นำมาใช้เพื่อประโยชน์ของมนุษย์เช่นการคลอดบุตรโดยไม่ให้มารดาเจ็บเป็นต้น         

                     สสารธรรมิกมากหลายที่ถูกศัตรูจับกุมไปทรมานก็ดีหรือเอา“ วัตถุ” ล่อเพื่อให้ยอมจำนนก็ดีนั้นสสารธรรมิกเช่นนั้นก็มิได้เห็นแก่วัตถุคือยอมถูกทรมานเพื่ออุดมคติของตนในระหว่างสงครามชนิดต่าง ๆสสารธรรมิกหลายคนที่ถูกข้าศึกล้อมแล้วขาดเสบียงก็ยังแข็งใจสู้ข้าศึกโดยปราศจากวัตถุสสารธรรมิกที่แท้จริงมากหลายมิได้โลภในวัตถุสิ่งของคือมีความเป็นอยู่อย่างไม่ฟุ่มเฟือยแทนที่จะหลงไปตามความยั่วยวนทางโลกสมัยใหม่ศัพท์จีนที่แปลกันว่าไม่เสพย์สุข นี้ก็แสดงว่าอิทธิพลทางจิตมีอยู่มากที่ช่วยให้ตัดกิเลสในทางวัตถุ  ดังนั้นสสารธรรมที่แท้จริงจึงไม่ปฏิเสธผลสะท้อนของจิตที่เกิดจากสสารและมิได้ถือเอาวัตถุเป็นสรณะ หรือนิยมวัตถุหรือวัตถุนิยมตามที่เข้าใจผิดกันอยู่มากปรัชญาสสารธรรมที่แท้นั้นไม่ใช่วัตถุนิยมของฝรั่งเศสแห่งคริสตศตวรรษที่ ๑๘ แต่เป็นเรื่องของสสารตามหลักวิทยาศาสตร์คือธรรมชาติย่อมประกอบด้วยสสารสสารธรรมที่แท้อธิบายปรัชญาตามหลักวิทยาศาสตร์

                       ๕.๕ ส่วนจิตธรรมนั้นเล่าก็มีผู้เข้าใจชนิดเอียงสุดเหวี่ยงถึงกับปฏิเสธอิทธิพลของสสารพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงพิสูจน์แล้วเช่นเมื่อก่อนพระพุทธองค์ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณนั้นพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาไม่เสวยพระกระยาหารตามวิธีของจิตธรรมในอินเดียสมัยก่อนโน้นในที่สุดพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าวิธีจิตธรรมเช่นนั้นไม่นำไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงจึงได้กลับเสวยพระกระยาหารซึ่งแสดงถึงวาระแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์และแสดงว่าพระพุทธองค์มิได้ทรงปฏิเสธอิทธิพลของจตุปัจจัยที่เป็นสสารให้ร่างกายของมนุษย์เคลื่อนไหวไปได้กล่าวคือร่างกายของมนุษย์ย่อมประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งมีอวัยวะสมองอยู่ด้วยที่ทำให้มนุษย์มีความคิดความคิดของมนุษย์เป็นผลที่ประณีตของสมอง พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้มนุษย์ตัดกิเลสเพื่อมิให้หลงใหลในวัตถุสสารธรรมิกที่แท้จริงก็จะต้องยอมรับว่าวิธีสอนให้บุคคลไม่หนักไปในทางเสพย์สุขนั้นก็เป็นวิธีที่มีสอนไว้ในพระพุทธศาสนา

                       ๕.๖ ท่านผู้อ่านย่อมสังเกตได้ว่าสังขารของมนุษย์นั้นย่อมประกอบด้วยร่างกายและจิตใจร่างกายของเราประกอบด้วยสสารคือมีของแข็งของเหลวและก๊าส จิตใจของเราเป็นความคิดที่เกิดขึ้นจากความเคลื่อนไหวแห่งอวัยวะสมองอันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายไม่มีร่างกายก็ไม่มีความคิดหรือจิตใจเกิดขึ้นมาได้

                      มนุษยสังคมก็มีกายาพยพหรือนัยหนึ่งร่างกายของสังคมคือสถาบันต่าง ๆอันประกอบเป็นระบบของสังคมทรรศนะทางสังคมหรือนัยหนึ่งจิตใจหางสังคมก็เกิดขึ้นจากกายาพยพของสังคม

                     กายาพยพหรือร่างกายของสังคมนั้นมิใช่จะเกิดขึ้นมาลอย ๆคือต้องมีสสารทางสังคมซึ่งเป็นสมุฏฐาน

                     อะไรเป็นสสารทางสังคม?

                    นี้เป็นปัญหาที่เราจะต้องค้นคว้าถึงสาเหตุที่ดลบันดาลให้มนุษย์ต้องรวมกันอยู่เป็นสังคม

                    ๕.๗ ในการดำรงชีวิตอยู่ได้นั้นมนุษย์จำต้องมีชีวปัจจัยแม้ว่าเราสามารถตัดก็เลสในทางเสพย์สุขโดยจำกัดความต้องการในชีวปัจจัยให้เหลือน้อยได้เพียงใดก็ตาม แต่เราก็ยังมีความจำเป็นในจตุปัจจัยหรือปัจจัยทั้งสี่คืออาหารเครื่องนุ่งห่มที่พักอาศัยยารักษาโรคเท่าที่จำเป็นแก่อัตภาพ

                    นอกจากความต้องการปัจจัยดำรงชีพทางกายแล้วมนุษย์ยังมีความต้องการความสุขทางใจซึ่งรวมทั้งทางวัฒนธรรมด้วยแม้เราสามารถตัดกิเลสในทางวัตถุให้รโดยลงได้เพียงใดก็ตามเราก็ยังมีความจำเป็นในเครื่องอุปกรณ์แห่งการศึกษาอบรมเพื่อขัดเกลากิเลสเช่นจำเป็นต้องมีหนังสือ กระดาษ ดินสอ

เป็นต้น

                    ดังนั้นความต้องการของมนุษย์ในการค่ารงชีพทางกายหรือทางใจก็มีรากฐานางยั่งลงไปถึงตัวปัจจัยนั่นเอง

                   ข้าพเจ้าต้องขอไว้อีกครั้งหนึ่งว่าการที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงชีวปัจจัยว่าเป็นรากอันลึกซึ้งแห่งชีวิตมนุษย์นั้นข้าพเจ้ากล่าวในทางวิทยาศาสตร์แห่งสังคมที่ถือว่าสสารเป็นสมุฏฐานของสิ่งทั้งหลายไม่ใช่ถือปรัชญานิยมวัตถุหรือวัตถุนิยมที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสเมื่อคริสตศตวรรษที่ ๑๘ อันเป็นบ่อเกิดแห่งความเข้าใจผิดของบุคคลจำนวนน้อยที่นึกว่าปรัชญาฝ่ายสสารอื่น ๆ ก็จะนิยมวัตถุเช่นกัน

                    ลาเมลตรี (LAMETTRIE) นักปรัชญาฝรั่งเศสที่นิยมวัตถุนั้นได้นิยมวัตถุจริงเพราะผู้นี้ได้อธิบายไว้ว่ามนุษย์เปรียบเหมือนเครื่องจักรชนิดหนึ่งจิตนั้นมิใช่อะไรอื่นหากเป็นส่วนหนึ่งของอินทรีย์เมื่ออินทรีย์สลายไปแล้วจิตก็หมดไปไม่มีอะไรอีกครั้นแล้วผู้นี้ให้ผลสรุปทางจริยศาสตร์ว่าระหว่างที่มนุษย์มีชีวิตนั้นต้องทำให้เกิดความชื่นบานแก่วิสัยและหาความสุขเกษมสำราญทรรศนะวัตถุนิยมของปรัชญาชนิดที่กล่าวนี้ได้ถูกโต้จากเมธีสสารธรรมวิทยาศาสตร์ดังนั้นเพื่อไม่ปะปนกับปรัชญาวัตถุนิยมดังกล่าวข้าพเจ้าจึงเรียกปรัชญาฝ่ายสสารที่ถือหลักวิทยาศาสตร์ว่า“ สสารธรรม” เพราะเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์และมีหลักสั่งสอนมิให้สสารธรรมิกเสพย์สุขแบบวัตถุนิยมฝรั่งเศส

                        ๕.๘ในการมีชีวปัจจัยดังกล่าวแล้วก็จำต้องมีการผลิตชีวปัจจัยเหล่านั้นขอให้เราพิจารณาความจริงว่ามนุษย์แต่ละคนไม่อาจทำการผลิตได้ด้วยตนเองทุก ๆอย่างบางคนสามารถผลิตข้าวได้ แต่ผลิตเครื่องนุ่งห่มหรือที่พักอาศัยหรือยารักษาโรคไม่ได้บางคนสามารถทำงานทางกำลังกายหรือทางสมอง แต่ผลิตชีวปัจจัยโดยตรงด้วยตนเองไม่ได้ทุกอย่างบางคนไม่ผลิตหรือออกแรงด้วยตนเอง แต่มีปัจจัยการผลิตที่จะใช้ให้คนอื่นทำงานเพื่อตนบางคนเช่นบุตรต้องอาศัยชีวปัจจัยของบิดามารดา ฯลฯ

                      ดังนั้นมนุษย์จึงไม่อาจอยู่โดดเดี่ยวโดยลำพังได้คือจำต้องมีความสัมพันธ์กันอยู่เป็นสังคมเพื่อได้มาซึ่งชีวปัจจัยโดยการผลิต

                      ความสัมพันธ์การผลิตระหว่างมนุษย์ในสังคมอาจเป็นชนิดที่สมาชิกทั้งหลายของสังคมมีความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันฉันพี่น้องเช่นระบบปฐมสหการและระบบสังคมกิจหรืออาจเป็นชนิดที่คนจำนวนน้อยส่วนหนึ่งในสังคมซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตใช้ให้สมาชิกส่วนมากของสังคมซึ่งไม่มีปัจจัยผลิตทำงานเพื่อเจ้าของปัจจัยการผลิตนั้นเช่นระบบทาสระบบศักดินาและระบบ ธ นานุภาพหรืออาจเป็นความสัมพันธ์ชนิดผสมระหว่างประเภทต่าง ๆ

ไฟล์เสียงเรื่อง สมุฏฐานของมนุษย์และมนุษยสังคม

https://drive.google.com/file/d/1arNNoFn0RPTmH_7LrS50y9L_f5_cAW-0/view

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น