เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ที่บ้านโนนสูง ตำบลเลิงแฝก (ปัจจุบันคือตำบลหนองแวง) อำเภอบรบือ (ปัจจุบันคืออำเภอกุดรัง) จังหวัดมหาสารคาม เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอัมพวัน ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก ได้เขียนบทความลงในวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ เมื่อครั้งเป็นพระภิกษุ โดยการชักชวนของคุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ภายหลังได้เขียนบทความลงในนิตยสารต่าง ๆ เช่น ต่วยตูน, แม่และเด็ก, รักลูก, ชีวจิต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด และหนังสือพิมพ์มติชน มีผลงานที่พิมพ์เป็นเล่มประมาณ 100 เล่ม

ผลงานนักเขียน

ยุทธจักรในดงขมิ้น (บาลีเถื่อน)

เนื้อหาในหนังสือ
“ยุทธจักรในดงขมิ้น” (บาลีเถื่อน)
https://drive.google.com/file/d/1Udwee1nejHbVp3LPUXiANqizRWwCgSD-/view?usp=sharing

อีกสองวันจะเข้าพรรษาหลวงพ่อนัดประชุมใหญ่พระเณรทั้งวัดซึ่งมี ประมาณ ๕๐ รูปเพื่อปฐมนิเทศการเข้าพรรษาพระเก่าเณรเก่าดูเหมือนเขาไม่ตื่นเต้นอะไรผิดกับพระนวก (อ่านว่านะวะกะนะครับ) มักจะถามว่าจะต้องทำอะไรบ้างพระเก่าก็บอกอย่างไม่ยินดียินร้ายว่า“ ไม่มีอะไรหรอกท่อง อิมัสมิงให้คล่องก็พอ” อิมัสมิงที่ว่านี้ก็คือคำอธิษฐานเข้าพรรษาซึ่งพระทุกองค์จะต้องสวดพร้อมกันเมื่อถึงวันนั้น
ท่านมหาสิงห์หรือหลวงพี่มหาของพวกเราเป็นอีกรูปหนึ่งที่แสดงที่ท่าว่าไม่อยากเข้าพรรษาเหมือนคนอื่นเขาท่านมหาสิงห์เป็นชาวร้อยเอ็ดมาอยู่วัดบ้านห้วยตั้งแต่เป็นเณรเรียนหนังสือจนสอบได้นักธรรมเอกและเปรียญประโยคเป็นคนมีอารมณ์ขันมีนิทานสนุก ๆ บางครั้งก็กระเดียดข้างเดอร์ตี้โจ๊กมาเล่าให้พวกเราฟังเสมอพวกเราจึงติดท่านอย่างกับขี้ยาติดฝิ่นเจอที่ไหนเป็นเร่เข้าไปฟังหลวงพมหาฝอยที่นั้น
“ ข้าไม่อยากให้ถึงวันนั้นเลย” หลวงพี่มหาเอ่ยกับพวกเราวันหนึ่ง
“ วันไหนวันประชุมใหญ่หรือวันเข้าพรรษา” ใครคนหนึ่งถาม
“ วันเข้าพรรษาว่ะ”
“ พรรษามาจากวัสสาแปลว่าฝนหรือฤดูผนเข้าพรรษาก็หมายถึงเข้าอยู่ประจำที่ในฤดูฝนใช่มั้ยหลวงพี่ "เณรมหาสมพรตอบพลางหันไปมองตาท่านมหาสิงห์
“ ใช่แล้วการตั้งชื่อมีอยู่หลายวิธีบางทีก็เรียกตามเสียงเช่นกาแมวเราเรียกชื่อมันตามเสียงที่มันร้องนี่อย่างหนึ่งอีกอย่างหนึ่งเรียกตามสภาวะที่เป็นจริงเช่นเรียกการอยู่ประจำใจฤดูฝนว่าเข้าพรรษาที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่และอีกประการหนึ่งเรียกตามรูปลักษณะอาการที่มันปรากฏเช่น... "
 "เช่นคนตาเขเรียกไอ้เขอย่างนี้ใช่มั้ยหลวงพี่" ไอ้เหลี่ยมซึ่งสงบฟังมาตลอดสอดขึ้นพลางถอยฉากห่างไอ้บุญเข แต่ไม่ไวไปกว่ามะเหงกจากฝ่ายหลังประเคนลงบนหัวขี้กลากมันดังโป๊กเรียกเสียงหัวเราะไปทั่ววงสนทนา 
"ที่พี่มหาเณรว่าเคย แต่เขาไม่เคยออกหมายความว่าอย่างไร” ไอ้บุญเขซัก
“ สำหรับเณรนั้นทำพิธีเข้าอย่างเดียวไม่มีออกและไม่ต้องนับพรรษาเหมือนอย่างพระอย่าถามข้านะว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นอันนี้บอกตามตรงว่าไม่รู้อยากรู้ค่อยเรียนถามหลวงพ่อเวลาประชุมใหญ่ก็แล้วกัน”
" จริงมั้ยที่ว่าเมื่อเข้าพรรษาแล้วห้ามไปไหนเป็นอันขาด” พระไม่รู้โผล่มาสมทบตั้งแต่เมื่อไรถามขึ้น
หลวงพมหาอธิบายว่า
“ ที่ว่าให้อยู่ประจำมิได้หมายความว่าไม่ให้ไปไหนเลยไปได้ แต่ต้องไม่ค้างคืนที่อื่นถ้าไปไหนไกล ๆ ต้องกลับมาให้ทันพระอาทิตย์ขึ้นภาษาพระเรียกว่าให้ทันรับอรุณไม่งั้นพรรษาขาดขาดแล้วต่อไม่ได้เหมือนต่อศีลหรือปลงอาบัติด้วยสิแถมยังหมดสิทธิ์รับกฐินอีกด้วย”
 ในสังคมดงขมิ้นนั้นไม่ว่าพระหรือเณรมีสิ่งที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่งคือการสารภาพบาปเณรเรียกว่าต่อศีลพระเรียกว่าปลงอาบัติทุกวันโกน (คือวันที่พระเณรโกนผมก่อนวันพระหนึ่งวัน) เณรจะไปรวมกันขอศีลจากพระรูปใดรูปหนึ่งส่วนมากเป็นสมภารหรือรองสมภารพระท่านก็จะให้ว่าศีลตามท่านทีละข้อ ๆ จนครบสิบข้อแล้วเณรก็จะให้คำมั่นเป็นภาษาบาลี 
พร้อมกันว่า“ อิมานิ ทะสะสิก ขาปะทาน สมาทิยามิ ข้าพเจ้าจะรักษาสิกขาบททั้งสิบข้อนี้อย่างดี” 
สำหรับพระเวเลาต้องอาบัติเล็กน้อยตั้งแต่ปาจิตตีย์ลงมา (ปาจิตตีย์คืออะไรได้เขียนเล่าไว้แล้วในต่วย "ตูนฉบับก่อน) พระรูปนั้นจะต้องไปหาพระอีกรูปหนึ่งแจ้งความจำนงจะปลงอาบัติแล้วทั้งสองก็นั่งยองๆประณมมือเข้าหากันกระทำพิธี (ทำไมต้องนั่งยองๆผมก็ไม่ทราบ)
 รูปที่ต้องอาบัติ (สมมุติว่าอ่อนกว่า) กล่าวเป็นภาษาบาลีว่า “ อะหัง ภันเต สัมพะหลานานา วัตถุกาโย อาปัตติโย อาปัชชิง ตาตุมหะมูเล ปะฏิเทเสมิ ท่านครับผมต้องอาบัติมากมายหลายข้อผมขอแสดงอาบัติเหล่านั้นต่อหน้าท่าน” พระรูปนั้นจะถามว่า“ ปัสสะติอาวุโสตาอาปัตติโยคุณเห็นอาบัติเหล่านั้นหรือ (คุณแน่ใจหรือว่าต้องอาบัติแน่) รูปที่ต้องอาบัติตอบว่า“ อามะ ภันเต ปัสสามิ เห็นขอรับ (แน่ใจขอรับ)”
 พระรูปเดิมนั้นกำชับว่า “ อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ ต่อไปจงระมัดระวังหน่อย (อย่าเสือกทำเข้าอีกล่ะ)" 
รูปที่ต้องอาบัติกมรับจนก้นโด่งว่า“ สาธุ สุฏฐ ภันเต สังวะริสสามิ นะปุในวัง กริสสามิ นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ รับรองขอรับต่อไปผมจะระมัดระวังอย่างดีที่สุดจะไม่ทำไม่พูดไม่คิดอย่างนี้อีก (เข็ดจริงๆให้ดิ้นตาย) 
แต่ก็ไม่เห็นรูปไหนเข็ดจริงๆสักรายเห็นนั่งก้นโด่งสารภาพบาปกัน อยู่แทบทุกวันแสดงว่าอาบัตินี่พิสมัยพระสงฆ์องค์เจ้าจริงๆหลีกไม่ค่อยจะพ้นซึ่งจะว่าไปแล้วเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนย่อมมีความผิดพลาดได้หลวงพ่อเคยบอกเสมอว่า "มีศีลได้มันก็ขาดได้ข้อสำคัญอย่าปกปิดก็แล้วกันรู้ตัวว่าต้องอาบัติก็ให้รีบแสดงเสีย” 	
ขณะพวกเรากำลังคุยกันอยู่นั้นพระตอหรือเสนาบดีโง่ถือกระดาษท่องอะไรขมุบขมิบเดินผ่านมาใกล้ ๆ เหลือบมาเห็นท่านมหาสิงห์เข้าจึงรี่เข้ามาหาคล้ายจะถามอะไรสักอย่าง
หลวงพี่มหารีบโบกไม้โบกมือไล่ทันที
" คุณตอไม่ต้องมาคุยกับพวกเรารีบไปท่องคำเข้าพรรษาให้มันคล่องก่อนยิ่งสมองขี้เลื่อยอยู่แล้ว "
พระตอคล้อยไปไม่นานเสียงระฆังดังขึ้นบอกสัญญาณได้เวลาประชุมใหญ่เพื่อซักซ้อมพิธีเข้าพรรษาสมาชิกวงสนทนาต่างก็ลุกขึ้นเตรียมตัวห่มผ้าให้เรียบร้อยเพื่อเข้าประชุม
หลวงพี่มหาคว้าข้อมือพระติไปอีกมุมหนึ่งกระซิบกระซาบว่า
“ เดี๋ยวก่อนขอปลงอาบัติหน่อย"“ 
ข้อไหนล่ะหลวงพี่ว”
“ โกหก”
“ ที่เล่ามาทั้งหมดนี้หลวงพี่โกหกพวกเราหรือ? "
“ ไม่ใช่หลอกพระตอมันต่างหาก”
“ หมายความว่า
“ เออ! ผมจดบาลีเถื่อนให้พระตอไปท่องเข้าพรรษา 
“ หลวงพี่จดอะไรให้แกล่ะ?”
“ ทิตัง มะตัง จะมะตัง ทิกุจะนัง” 
"ก็ฟังดูเป็นภาษาบาลีนีแปลว่ายังไง?”
“ ที่ตั้งไม่ตั้งจะมาตั้งที่กูจะนั่ง”
“ ทำไมละครับ”
“ ก็เข้าพรรษาที่หนึ่งข้าก็แกไปอีกปีหนึ่ง” พูดพลางยกมือขึ้นลูบศีรษะเถิกหัวเราะแหะๆ
“ นี่แค่ห้าพรรษาเท่านั้นหัวข้าก็ล้านไปครึ่งค่อนแล้ว"
“ ทำไมต้องเข้าพรรษาออกพรรษาครับ?” ผมถามต่อ
ขณะนั้นเณรมหาสมพรถือหนังสือเดินผ่านมาใกล้ ๆ ทำท่าจะเลี่ยงไปที่อื่นท่านมหาสิงห์จึงตะโกนเรียกให้มาร่วมวงไพบูลย์ด้วยเณรมหาเดินมาหย่อนก้นลงนั่งบนขอนไม้ข้างๆถามยิ้ม ๆ ว่า
“ กำลัง ตั้วะ อะไรอีกล่ะ” คำว่า ตั๊วะ ของเณรมหาก็คือโกหกในภาษากลางนั้นแหละ
“ ชะช้าไอ้มหาหิงค์จะหาอาบัติมาใส่หัวพระมั้ยล่ะ”หลวงพี่เอ็ดตะโรลั่น" เรากำลังพูดถึงวิชาการเว้ยเมื่อครู่นี้ไอ้เขียดมันถามว่าทำไมต้องออกพรรษาเข้าพรรษาเณรช่วยอธิบายให้มันฟังสิ”
“ หลวงพี่ดีกว่าไอ้ผมมันเคย แต่เข้าไม่เคยออก” เณรมหาออกตัว "ช้า" ไอ้บุญเขร้องลั่น“ เข้าแล้วไม่ออกก็ยุ่ง”
“ ทะลึงไอ้นี่” ผมตวาดเพราะรู้ว่ามันกำลังคิดลามก“ เขากำลังพูดเป็นงานเป็นการ
หลวงพี่มหาอธิบายว่าการเข้าพรรษาเป็นประเพณีทางศาสนามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแรกเริ่มเดิมที่พระสงฆ์ยังไม่ได้เข้าพรรษาเหมือนอย่างทุกวันนี้ต่างก็สัญจรไปตามหมู่บ้านและตำบลต่างๆทั่วประเทศอินเดียชาวบ้านจึงพูดเปรยๆว่าถึงหน้าฝนแม้แต่นกกามันยังรู้จักอยู่เป็นที่เป็นทาง แต่พวกสมณศากยบุตรนี้ไม่รู้จักอยู่เป็นที่เที่ยวเร่ร่อนไปทั่วการครหานินทาของชาวบ้านรู้ไปถึงสมเด็จพระบรมศาสดาจึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ตรัสว่าภิกษุทั้งหลายนับ แต่บัดนี้เป็นต้นไปพวกเธอต้องอยู่ประจำที่ในฤดูฝนเป็นเวลา ๓ เดือนด้วยเหตุนี้ประเพณีการเข้าพรรษาจึงเกิดขึ้น
                                                                                                                                                                
เสียงบรรยาย
https://drive.google.com/file/d/1g-M48NeWOht9yIVuzNLlZ-7DCnrbzLXO/view?usp=sharing

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น