
กรมศิลปากร (อังกฤษ: Fine Arts Department) เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ
ประวัติ
- พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้โอนกิจการของช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ มาจัดตั้งเป็น “กรมศิลปากร”
- พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนงานพิพิธภัณฑ์ ไปอยู่ในความควบคุมดูแลของ กรรมการหอพระสมุดฯ และได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งราชบัณฑิตยสภา เรียกว่า “ศิลปากรสถาน” ดังนั้น กรมศิลปากร จึงถูกยกเลิกไป
- พ.ศ. 2476 มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมศิลปากร ขึ้นมาใหม่ โดยสังกัดกระทรวงธรรมการ และมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ส่วนราชการภายใน และย้ายสังกัด เพื่อความเหมาะสมหลายครั้ง
- พ.ศ. 2501 มีพระราชบัญญัติ โอนกรมศิลปากร มาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาได้โอนมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
บทบาท และหน้าที่
- ปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมธำรงจารีตประเพณี พระราชพิธี และรัฐพิธีให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศไทย
- สืบทอด สร้างสรรค์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
- ปรับเปลี่ยนระบบและกลไกการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม
- บริหารจัดการองค์ความรู้และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยว
- จัดการศึกษาเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน
การแบ่งส่วนราชการ
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 ให้แบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร ดังต่อไปนี้
- สำนักบริหารกลาง
- กองโบราณคดี
- กองโบราณคดีใต้น้ำ
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม
- สำนักการสังคีต
- สำนักช่างสิบหมู่
- สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
- สำนักศิลปากรที่ 1 – 12
- สำนักสถาปัตยกรรม
- สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
- สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ผลงานนักเขียน
ประวัติศาสตร์ชาติไทย

อ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki